ReadyPlanet.com
dot dot




แบบตรวจวัดคุณลักษณะบุคลิกภาพผู้นำของมายเออร์-บริกส์

 

แบบตรวจวัดคุณลักษณะบุคลิกภาพผู้นำของมายเออร์-บริกส์

(The Myers – Briggs Type Indicator : MBTI)

                                                                                                รศ.สุเทพ  พงศ์ศรีวัฒน์

              เป็นแบบทดสอบบุคลิกภาพที่พัฒนาขึ้นโดย Katharine C.Briggs และ Briggs Myers จากแนวคิดของ Carl Jung เกี่ยวกับการจัดประเภทของบุคลิกภาพ (Jung’s personality typology) แบบทดสอบดังกล่าวประกอบด้วยคำถาม 100 ข้อ ที่ใช้วัดบุคลิกภาพ โดยให้บุคคลตอบคำถามว่า ตนรู้สึกหรือปฏิบัติอย่างไรในแต่ละสถานการณ์ของแต่ละคำถามเหล่านั้น จากคำตอบที่ได้นำมาจัดกลุ่มใหม่ว่าตรงกับบุคลิกภาพแบบใด

              ก่อนอื่นขอทำความเข้าใจเบื้องต้นเกี่ยวกับแนวคิดการจัดบุคลิกภาพแบบนี้ ซึ่ง คาร์ล จุง ได้เฝ้าสังเกตพฤติกรรมของมนุษย์จำนวนมาก พบว่า พฤติกรรมมิได้เป็นลักษณะเฉพาะของคนใดคนหนึ่งแต่หลาย ๆ คนสามารถมีแบบ (patterns) ของพฤติกรรมที่เหมือนหรือคล้าย ๆ กันได้ โดยเป็นพฤติกรรมที่เป็นระบบระเบียบ (Orderly) ที่มีความถาวรคงเส้นคงวา แบบของพฤติกรรมที่ทำให้คนแตกต่างกันก็คือแบบที่คนมักแสดงออกบ่อย ๆ (preferences) ซึ่งจะสะท้อนเจตคติของบุคคลที่มีต่อโลก ได้แก่ การมีลักษณะของคนที่เปิดเผย (Extrovert เขียนย่อ E) กับการมีลักษณะของคนแบบเก็บตัว (Introvert เขียนย่อ I )

                  คนมีคุณลักษณะแบบเปิดเผย (Extrovert, E) จะสนใจต่อภายนอก ชอบการสนองตอบและเต็มใจให้การยอมรับต่อเหตุการณ์ใด ๆ ต้องการเข้าไปมีอิทธิพลและได้รับอิทธิพลจาก          เหตุการณ์นั้นชอบความสนุกสนานชอบมีเพื่อนและรู้จักคนอื่น จากผลงานการวิจัยของมายเออร์ (Myers, 1963) พบว่า ผู้บริหารที่เป็นแบบบุคลิกที่เปิดเผย มักจะมีวิธีการทำงานที่หลากหลายและเร่งรีบ มักไม่ชอบกระบวนการที่ยุ่งยากซับซ้อนไม่อดทนต่อการรอคอยหรือการทำงานช้า มุ่งความสำเร็จที่ผลของงานทำอะไรรวดเร็ว (บางครั้งเร็วกว่าความคิด) และเก่งในการติดต่อสื่อสาร

                  ส่วนคนที่มีคุณลักษณะแบบเก็บตัว (Introvert, I) เป็นผู้ที่ชอบครุ่นคิดแต่เรื่องและความรู้สึกของตนเอง ซึ่งเป็นการติดอยู่กับโลกภายในของตนเอง ทั้งความคิดและความรู้สึก จึงมักไม่ค่อยไว้ใจใคร พยายามตัดขาดออกจากเหตุการณ์ภายนอก มีความรู้สึกหงอยเหงาและไม่อยากคบหาสมาคมกับคนอื่น จากผลงานวิจัยของมายเออร์ พบว่า ผู้บริหารที่มีบุคลิกแบบเก็บตัว ชอบใช้สมาธิในการทำงานเงียบ ๆ ระมัดระวังในเรื่องของรายละเอียด ก่อนลงมือปฏิบัติใด ๆ จะคิดแล้วคิดอีกเป็นเวลานานและมักพอใจที่จะทำงานนั้นตามลำพัง

                  มายเออร์มีความเห็นว่า ไม่มีมนุษย์คนใดที่จะมีคุณลักษณะแบบใดแบบหนึ่งล้วน ๆ เพียงอย่างเดียวแต่ละคนจะอยู่ในสภาพของการสร้างสมดุลของบุคลิกภาพระหว่างแบบเปิดเผย (Extrovert) กับแบบเก็บตัว (Introvert) ทั้งสิ้น

                  นอกจากนี้ คาร์ล จุง  ได้เสนอตัวแปรทางจิตวิทยาที่มีผลต่อบุคลิกภาพขึ้น 2 มิติ โดยมิติแรกคือ การรับรู้ (Perception dimensional หรือ P) ซึ่งประกอบด้วยตัวแปรที่เกี่ยวกับวิธีการรับรู้ข้อมูลของมนุษย์2 วิธีซึ่งอยู่ปลายขั้วคนละด้านของแกนต่อเนื่องกันได้แก่วิธีการรู้ด้วยประสาทสัมผัส (Sensing หรือ S) ซึ่งต้องอาศัยประสาททั้ง 5 ทางกายกับวิธีการรู้ด้วยการหยั่งรู้ (Intuition หรือ N) ซึ่งต้องอาศัยประสบการณ์ในอดีต ส่วนมิติที่สอง คือการวินิจฉัยตัดสิน (Judgment dimension หรือ J) ซึ่งเป็นการลงความเห็นหรือตีความข้อมูลที่ได้รับรู้จากมิติแรก มิตินี้ประกอบด้วยตัวแปร 2 ตัว อยู่ปลายขั้วสุดของแกนต่อเนื่องกัน ได้แก่วิธีการคิด(Thinking หรือ T) ซึ่งต้องใช้หลักเหตุผลและการวิเคราะห์ กับวิธีการใช้ความรู้สึก (Feeling หรือ F) ซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับความเห็น ความรู้สึกส่วนตัวเป็นหลัก เช่น ดีหรือเลว ชอบหรือเกลียด เป็นต้น จึงมักเกี่ยวกับอารมณ์ส่วนบุคคลด้วย

                  คาร์ล จุง ได้ใช้ตัวแปรทั้งสี่ดังกล่าว มาผสมผสานแบบ แมทริกซ์ เกิดเป็นแบบของบุคลิกภาพหลักขึ้น 4 แบบ ดังตารางที่ 1 และนำตัวแปรทั้ง 8 ตัวดังกล่าวมาแล้วตอนต้นมาจัดเป็นชุด ๆ ละ 4 ตัวแปร ทำให้ได้แบบของบุคลิกภาพขึ้นอีก 16 แบบ ดังตารางที่ 2 ซึ่งอยู่ตอนท้ายของบทความนี้

                  ก่อนที่จะอ่านรายละเอียดต่อไป ขอให้ผู้อ่านทดลองทำแบบประเมินคุณลักาณะทางบุคลิกภาพผู้นำของตนเองด้วยแบบวัดตัวบ่งชี้ของมายเออร์- บริกส์ (The Myers-Briggs Type Indicator หรือ MBTI) ซึ่งเป็นฉบับย่อจำนวน 32 ข้อ ผู้อ่านอาจหา อ่าน version อื่น ๆ จากอินเทอร์เนตที่เป็นภาษาอังกฤษเพิ่มเติมได้ตามความสนใจ

การให้คะแนน  นับ 1 คะแนน สำหรับแต่ละคำตอบของท่านในแบบเฉลยต่อไปนี้

.

คะแนนสำหรับ “I”

คะแนนสำหรับ “E”

คะแนนสำหรับ “S”

คะแนนสำหรับ “N”

 

2

a

2

b

1

b

1

a

 

6

a

6

b

10

b

10

a

 

11

a

11

b

13

a

13

b

 

15

b

15

a

16

a

16

b

 

19

b

19

a

17

a

17

b

 

22

a

22

b

21

a

21

b

 

27

b

27

a

28

b

28

a

 

32

b

32

a

30

b

30

a

รวมคะแนน

 

 

 

 

 

 

 

                                               

            -           ท่านได้คะแนน “I” กับ “E” อย่างไหนมากกว่ากัน ตอบ                                  

                         (หมายเหตุ : ถ้าได้คะแนน “I”  เท่ากับ  “E” ไม่ต้องนับคะแนนข้อ 11)

            -           ท่านได้คะแนน “S” กับ “N” อย่างไหนมากกว่ากัน ตอบ                                 

                        (หมายเหตุ : ถ้าได้คะแนน“S”  เท่ากับ  “N”  ไม่ต้องนับคะแนนข้อ 16)

 

.

คะแนนสำหรับ “T”

คะแนนสำหรับ “F”

คะแนนสำหรับ “J”

คะแนนสำหรับ “P”

 

3

a

3

b

4

a

4

b

 

5

a

5

b

7

a

7

b

 

12

a

12

b

8

b

8

a

 

14

b

14

a

9

a

9

b

 

20

a

20

b

18

b

18

a

 

24

b

24

a

23

b

23

a

 

25

a

25

b

26

a

26

b

 

29

b

29

a

31

a

31

b

รวมคะแนน

 

 

 

 

 

 

            -           ท่านได้คะแนน “T” กับ “F”  อย่างไหนมากกว่ากัน ตอบ                    

                          (หมายเหตุ : ถ้าได้คะแนน “T” เท่ากับ  “F”  ไม่ต้องนับคะแนนข้อ 24)

            -           ท่านได้คะแนน“J” กับ “P” อย่างไหนมากกว่ากัน ตอบ                                   

                          (หมายเหตุ : ถ้าได้คะแนน “J” เท่ากับ  “P”ไม่ต้องนับคะแนนข้อ 23)

สรุป

                  คะแนนของท่านคือ I หรือ E____,S หรือ N ___, T หรือ  F ___, J หรือ P ___ ดังนั้นแบบ MBTI ของท่านคือ ____  (ตัวอย่าง เช่น INTJ; ESFP ฯลฯ)

                  เมื่อท่านได้แบบ MBTI แล้วขอให้ท่านนำไปตรวจคุณลักษณะบุคลิกภาพของท่านได้จาก ตารางที่  2  ที่อยู่ในหน้าต่อไป

                  ในระยะหลังนี้พบว่าการนำแบบทดสอบ MBTI นี้ไปประยุกต์ใช้ในการศึกษาด้านภาวะผู้นำเพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็ว อย่างไรก็ตามยังไม่สามารถระบุได้ชัดเจนว่า คุณลักษณะบุคลิกภาพแบบใดแบบหนึ่งใน 16 แบบของ MBIT ที่เหมาะสมที่สุดต่อการเป็นผู้นำ โดยทั้ง 16 แบบนี้ แต่ละแบบอาจก่อให้เกิดความมีประสิทธิผลของผู้นำได้ทั้งสิ้นนอกจากนี้ยังมีหลักการทำงานเช่นเดียวกับแนวคิดเรื่องสมองโดยรวมของเฮอร์มานน์(Herrmann’s whole brain concept)   ที่เคยกล่าวมาแล้วใน Leadership #15 กล่าวคือผู้นำสามารถเรียนรู้การปรับใช้แบบบุคลิกภาพเด่นต่าง ๆ ให้เกิด  สมดุลเหมาะสมและสอดคล้องกับการนำไปใช้กับผู้ตามและสถานการณ์ได้เป็นรายกรณีไป อย่างไรก็ตามมีผลวิจัยประเด็นหนึ่งที่น่าสนใจ ก็คือ คุณลักษณะบุคลิกภาพด้านการเปิดเผยตัว (Extroverts หรือ E) ซึ่งมีความสำคัญมากต่อการเป็นผู้นำ กลับพบว่าในโลกแห่งความเป็นจริง มีผู้นำที่มีบุคลิกภาพแบบเปิดเผยตัวจำนวนที่ใกล้เคียงกับผู้นำที่มีบุคลิกภาพแบบชอบเก็บตัว  (Introverts หรือ I) ส่วนในแง่การรับรู้โดยการสัมผัส (Sensing) กับการหยั่งรู้(Intuition) นั้น ผลวิจัยพบว่า ผู้นำที่เด่นการรับรู้แบบการสัมผัส (Sensing) มักพบมากในสาขางานอาชีพที่หวังผลเป็นรูปธรรมได้รวดเร็วในระยะสั้น ๆ เช่น งานก่อสร้าง บัญชีและงานผลิตอุตสาหกรรมเป็นต้น ส่วนผู้นำที่มักมีลักษณะเด่นในการรับรู้แบบและหยั่งรู้ (Intuition) มักพบมากในงานอาชีพที่หวังผลระยะยาวหรืองานที่ต้องคิดริเริ่มใหม่ ส่วนในมิติที่เกี่ยวข้องกับการวินิจฉัยตัดสิน (Judgment dimension หรือ J) ซึ่งแบ่งเป็น 2 แบบ ผู้นำที่เน้นการคิด  (Thinking หรือ T) มักพบมาในงานอาชีพธุรกิจและอุตสาหกรรมต่าง ๆ ตลอดจนวิทยาศาสตร์ประยุกต์เป็นต้น หรือแม้แต่งานอาชีพ เช่น งานแนะแนวให้คำปรึกษาหารือ ซึ่งเดิมผู้นำหน่วยงานประเภทนี้มักเป็นผู้นำที่เน้นการรู้สึก (Feeling  หรือ F) ก็หันมาแต่งตั้งผู้นำที่เน้นการคิด (Thinking, T) ขึ้นเป็นผู้นำหน่วยงาน และประเด็นสุดท้ายที่ผลงานวิจัยพบว่ามีความคงเส้นคงวาเสมอก็คือ ผู้นำส่วนใหญ่จะมีลักษณะเด่นทางด้านวินิจฉัย ตัดสิน (Judging Type) แทบทั้งสิ้นโดยเฉพาะการมีลักษณะเด่นของผู้นำที่เน้นการคิด (Thinking, T) แต่ทั้งนี้มิได้หมายความว่า คุณลักษณะด้านอื่น ๆ จะไม่มีผลต่อความมีประสิทธิผลของผู้นำ ซึ่งอาจมาจากการทำวิจัยเรื่องนี้ยังน้อยเกินไปที่จะสรุปได้ อย่างไรก็ตามงานวิจัยนี้ช่วยให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างแบบการคิด (Cognitive style) กับแบบภาวะผู้นำ 2 ประเภทที่ต้องอาศัยคุณลักษณะส่วนตัวของผู้นำ นั่นคือ ภาวะผู้นำโดยเสน่หา (Charismatic leadership)  กับภาวะผู้นำเปลี่ยนสภาพหรือภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง (Transformational leadership) ซึ่งเป็นทฤษฎีด้านภาวะผู้นำที่นิยมอย่างกว้างขวางในยุคปัจจุบัน







Copyright © 2011 All Rights Reserved.
Department of Psychiatry, Faculty of Medicine, Chulalongkorn University BANGKOK 10330
Tel: (662) 256-4000-61509