2.5.1 มีทักษะทางวิชาชีพในการปฏิบัติและพัฒนางานด้านส่งเสริม ป้องกัน บำบัดและฟื้นฟูสุขภาพจิต และมีทักษะในการดำเนินงานวิจัยทางสุขภาพจิต
|
- การมอบหมายให้จัดทำกิจกรรมพัฒนาสุขภาพจิตแก่ประชาชน เช่น โครงการHappy Kids และโครงงานในรายวิชาสุขภาพจิตชุมชน
- การเรียนการสอนในรายวิชาที่เกี่ยวกับการวิจัยและวิทยานิพนธ์
|
- การให้เกรดของรายวิชา
- ผลการประเมินกิจกรรมโดยประชาชนผู้เข้าร่วมงาน
- ผลการประเมินวิทยานิพนธ์
|
2.5.2 มีทักษะในการสื่อสาร
- มีทักษะการสื่อสารเพื่อใช้ในชีวิตประจำวัน และการประกอบวิชาชีพ
- มีความสามารถอ่านและเข้าใจบทความทางวิชาการสุขภาพจิตทั้งภาษาไทยและอังกฤษ และสามารถเขียน และนำเสนอบทความทางวิชาการ งานวิจัยหรือบทคัดย่อผลงานวิจัยเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ
|
- การเรียนเรื่องการสื่อสารและความสัมพันธ์ของมนุษย์ในรายวิชาพฤติกรรมศาสตร์ฯ การให้คำปรึกษาเบื้องต้นฯ และ การทำจิตบำบัดชนิดต่างๆ
- การฝึกการอ่านและวิพากษ์งานวิจัยในรายวิชาการวิจัยฯ
- การตีพิมพ์ผลงานวิจัย
- การนำเสนอในการสอบโครงร่างและการป้องกันวิทยานิพนธ์
- การให้ทำรายงาน และ/หรือนำเสนอหน้าชั้นเรียนในรายวิชาต่างๆ เช่น ปัจจัยทางสังคมฯ การวิจัยฯ สุขภาพจิตชุมชน
|
- การให้เกรดของรายวิชาต่างๆ
- รายงานการฝึกการอ่านและวิพากษ์งานวิจัย
- บทความที่ส่งตีพิมพ์ในวารสาร
- ผลการประเมินวิทยานิพนธ์
- ผลการประเมินการจัดทำรายงานหรือนำเสนอในรายวิชาต่างๆ
|
2.4.3 มีทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการ สืบค้น วิเคราะห์ ติดตามงานวิชาการด้านสุขภาพจิต และใช้ทักษะดังกล่าวในการนำเสนอผลงานทางวิชาการ
|
- สอนวิธีการใช้ e-library ภาควิชาฯ ในวันปฐมนิเทศ และการอบรมการใช้ห้องสมุดของคณะฯ
- การมอบหมายให้ค้นคว้าผลงานวิชาการทางสุขภาพจิตในรายวิชาการวิจัยค่างๆ
- การนำเสนอผลงานหน้าชั้นเรียนด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำหรับเสนอผลงาน
- การทำวิทยานิพนธ์
|
- การใช้บริการการเข้าค้นหรือยืมหนังสือผ่านระบบ e-library
- รายงานการฝึกการอ่านและวิพากษ์งานวิจัย
- ผลการประเมินการนำเสนอหน้าชั้น
- ผลการประเมินวิทยานิพนธ์
|
2.4.4 มีทักษะในการใช้โปรแกรมคำนวณทางสถิติเพื่อใช้ในงานวิจัยทางสุขภาพจิต
|
- การเรียนโปรแกรม SPSS ในรายวิชาการวิจัยฯ
- โครงการจัดการปรึกษาด้านสถิติการวิจัยแก่นิสิต
|
- การให้เกรดของรายวิชา
- ผลงานวิจัยที่มีการใช้โปรแกรมคำนวณทางสถิติ
|