ReadyPlanet.com
dot dot




ความฉลาดทางอารมณ์

แบบประเมินความฉลาดทางอารมณ์ EQ

ใช้แบบประเมินความฉลาดทางอารมณ์สำหรับผู้ใหญ่ (อายุ 12-60 ปี) ของกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข มีค่าความเชื่อมั่นของแบบประเมิน ( Cronbach Coefficient alpha) ด้านดี เก่ง สุข และภาพรวมเท่ากับ 0.75, 0.76, 0.81 และ 0.85 ตามลำดับ ส่วนค่าความเชื่อมั่นแบบครึ่ง (Split-half reliability) ด้านดี เก่ง สุข และภาพรวมเท่ากับ 0.83, 0.86, 0.71 และ 0.74 ตามลำดับ ประกอบด้วยข้อคำถามจำนวนทั้งสิ้น 52 ข้อ จำแนกออกเป็นความฉลาดทางอารมณ์ 3 ด้านคือ

1. ด้านดี หมายถึง ความสามารถในการควบคุมอามรณ์และความต้องการของตนเอง รู้จักเห็นใจผู้อื่น และมี ความรับผิดชอบต่อส่วนรวม ซึ่งมีข้อคำถาม 18 ข้อ (ข้อ1-18) ประกอบด้วยองค์ประกอบย่อยดังนี้

1.1 ควบคุมตนเอง ข้อ 1-6

1.2 เห็นใจผู้อื่น ข้อ 7-12

1.3 รับผิดชอบ ข้อ 13-18

2. ด้านเก่ง หมายถึง ความสามารถในการรู้สึกตนเอง มีแรงจูงใจ สามารถตัดสินใจแก้ปัญหาและแสดงออกได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งมีข้อคำถาม 18 ข้อ (ข้อ 19-36) ประกอบด้วยองค์ประกอบย่อยดังนี้

2.1 แรงจูงใจ ข้อ 19-24

2.2 ตัดสินใจและแก้ปัญหา ข้อ 25-30

2.3 สัมพันธภาพ ข้อ 31-36

3. ด้านสุข หมายถึง ความสามารถใจการดำรงชีวิตอย่างเป็นสุข ซึงมีข้อคำถาม 16 ข้อ (ข้อ 37-52) ประกอบด้วยองค์ประกอบย่อยดังนี้

3.1 ภูมิใจในตนเอง ข้อ 37-40

3.2 พอใจในชีวิต ข้อ 41-46

3.3 สุขสงบทางใจ ข้อ 47-52

ในแต่ละข้อมีข้อคำถามให้เลือก 4 คำตอบ คือ ไม่จริง จริงบางครั้ง ค่อนข้างจริง จริงมาก โดยให้ผู้ตอบใส่เครื่องหมาย / ในช่องที่คิดว่าตรงกับตนเองมากที่สุด

การให้คะแนน จะแบ่งข้อความออกเป็น 2 กลุ่ม

กลุ่มที่ 1 ได้แก่ข้อ 1, 4, 6, 7, 10, 12, 14, 15, 17, 20, 22, 23, 25, 28, 31, 32, 34, 36, 38, 39, 41, 42, 43, 44, 46, 48, 49, 50

ในแต่ละข้อให้คะแนนดังนี้

ตอบไม่จริง                 ให้       1        คะแนน

ตอบจริงบางครั้ง           ให้       2        คะแนน

ตอบค่อนข้างจริง           ให้       3        คะแนน

ตอบจริงมาก               ให้       4        คะแนน

กลุ่มที่ 2 ได้แก่ข้อ 2, 3, 5, 8, 9, 11, 13, 16, 18, 19, 21, 24, 26, 27, 29, 30, 33, 35, 37, 40, 45, 47, 51, 52

ในแต่ละข้อให้คะแนนดังนี้

ตอบไม่จริง                 ให้       1        คะแนน

ตอบจริงบางครั้ง           ให้       2        คะแนน

ตอบค่อนข้างจริง           ให้       3        คะแนน

ตอบจริงมาก               ให้       4        คะแนน

เกณฑ์ 18-25 ปี 

 

องค์ประกอบ EQ

ต่ำกว่าปกติ

เกณฑ์ปกติ

สูงกว่าปกติ

คะแนน EQ รวม

<138

138-170

>170

ด้านดี

<48

48-58

>58

ควบคุมตนเองได้

<14

14 – 18

>18

เห็นใจผู้อื่น

<16

16 – 20

>20

รับผิดชอบ

<17

17 – 23

>23

ด้านเก่ง

<45

45-59

>59

มีแรงจูงใจ

<15

15 – 21

>21

ตัดสินใจและแก้ปัญหา

<14

14 – 20

>20

สัมพันธภาพ

<15

15 – 20

>20

ด้านสุข

<42

42-56

>56

ภูมิใจในตนเอง

<9

9 – 13

>13

พอใจชีวิต

<16

16 – 22

>22

สุขสงบทางใจ

<15

15 – 21

>21




ข่าวสารหลักสูตร

หลักสูตร วท.ม.สาขาวิชาสุขภาพจิต
ข้อมูลการรับสมัครเข้าศึกษา ระดับปริญญามหาบัณฑิต สาขาสุขภาพจิต
ความประทับใจของศิษย์เก่าที่มีต่อหลักสูตร วท.ม.สาขาสุขภาพจิต
ขั้นตอนการสมัครเข้าศึกษา (ภาคในเวลาราชการ)
ขั้นตอนการสมัครเข้าศึกษา (ภาคบางเวลา)
ประชุมวิชาการครบรอบ 30 ปี หลักสูตร วท.ม. สุขภาพจิต เรื่อง “Mental Health in All Dimensions”
ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์เข้าศึกษาในหลักสูตร วท.ม. สาขาสุขภาพจิต
งานมุทิตาจิต รศ.พญ.ภิรมย์ สุคนธาภิรมย์ ณ พัทลุง
ประกาศรายชื่อผู้สอบผ่านข้อเขียนและมีสิทธิ์เข้ารับการสัมภาษณ์
สถานที่สอบข้อเขียน
ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบข้อเขียน ปีการศึกษา 2561
สำรวจชุมชนเพื่อจัดโครงการส่งเสริมสุขภาพจิต
แบบสอบถามเกี่ยวกับภาระงานและหน้าที่ความรับผิดชอบ
แบบวัดอาการวิตกกังวลและอาการซึมเศร้าฉบับภาษาไทย Thai Hospital Anxiety and Depression Scale ฉบับภาษาไทย
เครื่องมือประเภท Psychosocial
เครื่องมือประเภท Behavior
เครื่องมือประเภท Neurotic
เครื่องมือประเภท Psycho
ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบสัมภาษณ์ ปีการศึกษา 2559
ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบข้อเขียน ปีการศึกษา 2559



Copyright © 2011 All Rights Reserved.
Department of Psychiatry, Faculty of Medicine, Chulalongkorn University BANGKOK 10330
Tel: (662) 256-4000-61509