ReadyPlanet.com
dot dot




จีรวรรณ จบสุบิน

 

ชื่อผู้แต่ง

จีรวรรณ  จบสุบิน

ชื่อเรื่องภาษาไทย

ความชุกภาวะวิตกกังวล ภาวะซึมเศร้า และปัจจัยที่เกี่ยวข้องในผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับยาเคมีบำบัด ณ โรงพยาบาล

ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษ

Prevalence of anxiety and depression and related factors in breast cancer patients receiving chemotherapy at King Chulalongkorn Memorial Hospital

ปีที่ดำเนินการ

2551

บทตัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่ง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความชุกภาวะวิตกกังวล ภาวะซึมเศร้าและปัจจัยที่เกี่ยวข้องในผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับยาเคมีบำบัด ณ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ จำนวน 236 คน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล, แบบสอบถามภาวะวิตกกังวลและภาวะซึมเศร้าHospital Anxiety Depression Scaleฉบับภาษาไทย(Thai–HADS), แบบสอบถามเหตุการณ์ความเครียดในชีวิต, แบบสอบถามการสนับสนุนทางสังคม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรม SPSS for windows สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบ Chi-Square Test การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว หาค่าสัมประสิทธ์สหสัมพันธ์แบบเพียรสัน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอนเพื่อหาปัจจัยทำนาย ผลการศึกษาพบว่าความชุกของภาวะวิตกกังวลเป็นร้อยละ 8.9 และภาวะซึมเศร้าเป็นร้อยละ9.3 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะวิตกกังวลได้แก่ สถานภาพสมรส ผู้ที่มีคู่สมรสมีภาวะวิตกกังวลสูงกว่าผู้เป็นโสด(p<0.05) อายุที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งเต้านม ผู้ที่เริ่มเป็นมะเร็งเต้านมอายุมากมีภาวะวิตกกังวลสูงกว่าผู้เป็นอายุน้อย(p<0.05) ความรุนแรงจากความเจ็บปวด ผู้ที่มีความเจ็บปวดมากมีภาวะวิตกกังวลสูงกว่าผู้ที่มีความเจ็บปวดน้อย(p<0.05) อาการก่อนและหลังได้รับยาเคมีบำบัด ผู้ที่มีอาการมากมีภาวะวิตกกังวลสูงกว่าผู้ที่มีอาการน้อย(p<0.05, p<0.01) เหตุการณ์ความเครียดในชีวิต ผู้ที่มีจำนวนเหตุการณ์ความเครียดในชีวิตมากมีภาวะวิตกกังวลสูงกว่าผู้ที่มีเหตุการณ์ความเครียดในชีวิตน้อย(p<0.01) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าได้แก่ อายุ ผู้ที่มีอายุมากมีภาวะซึมเศร้าสูงกว่าผู้ที่มีอายุน้อย(p<0.05)

สถานภาพสมรส ผู้ที่มีคู่สมรสมีภาวะซึมเศร้าสูงกว่าผู้เป็นโสด(p<0.05) อายุที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งเต้านม ผู้ที่เริ่มเป็นมะเร็งเต้านมอายุมากมีภาวะซึมเศร้าสูงกว่าผู้เป็นอายุน้อย(p<0.05) ความรุนแรงจากความเจ็บปวด ผู้ที่มีความเจ็บปวดมากมีภาวะซึมเศร้าสูงกว่าผู้ที่มีความเจ็บปวดน้อย(p<0.05) อาการก่อนและหลังได้รับยาเคมีบำบัด ผู้ที่มีอาการมากมีภาวะซึมเศร้าสูงกว่าผู้ที่มีอาการน้อย (p<0.05, p<0.01) เหตุการณ์ความเครียดในชีวิต ผู้ที่มีจำนวนเหตุการณ์ความเครียดในชีวิตมากมีภาวะซึมเศร้าสูงกว่าผู้ที่มีเหตุการณ์ความเครียดในชีวิตน้อย(p<0.01) แรงสนับสนุนทางสังคม ผู้ที่มีแรงสนับสนุนทางสังคมต่ำมีภาวะซึมเศร้าสูงกว่าผู้ที่มีแรงสนับสนุนทางสังคมสูง(p<0.01) ปัจจัยทำนายภาวะวิตกกังวล ได้แก่ อาการนอนไม่หลับหลังได้รับยาเคมีบำบัด ความรุนแรงจากความเจ็บปวด เหตุการณ์ความเครียดในชีวิต แรงสนับสนุนทางสังคม มีไข้และท้องเสียหลังได้ยาเคมีบำบัด สามารถร่วมกันพยากรณ์ภาวะวิตกกังวลได้ร้อยละ 23.9 ปัจจัยทำนายภาวะซึมเศร้า ได้แก่ อาการอ่อนเพลียก่อนได้รับยาเคมีบำบัด แรงสนับสนุนทางสังคม เหตุการณ์ความเครียดในชีวิต อายุที่ได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ว่าเป็นมะเร็งเต้านม อายุ และโลหิตจางหลังได้รับยาเคมีบำบัด สามารถร่วมกันพยากรณ์ภาวะซึมเศร้าได้ร้อยละ 27.9

Abstract

The purposes of this research were to examine the prevalence of anxiety and depression and related factor in breast cancer patients receiving chemotherapy at king chulalongkorn hospital. The research design was cross – sectional descriptive study. The sample was 236 breast cancer patients who receiving chemotherapy at king chulalongkorn hospital. The instruments were general demographic data, Thai – Hospital Anxiety and Depression Scales (Thai – HADS), Life Stress Event Questionnaires and the instrument to measure Social Support. All data were analyzed with the SPSS / FW program to determine percentage, mean, standard deviation, Chi-square, One-way ANOVA, Pearson’s Product Moment Correlation Coefficient and Stepwise Multiple Regression Analysis were used to determine factors to anxiety and depression. The major findings were as follows: The prevalence of anxiety and depression in breast cancer patients receiving chemotherapy were 8.9% and 9.3%. Factors associated to anxiety are as follows: Status: Subjects whose marital status had higher anxiety than those single (p<0.05). Age of diagnosis: Subjects whose old ages had higher anxiety than those younger (p<0.05). Severity of pain from breast cancer: Subjects whose high severity of pain had higher anxiety than those low severity of pain (p<0.05). Side effects before and after receiving chemotherapy: Subjects whose high side effects had higher anxiety than those low side effects (p<0.05, p<0.01). Life stress event: Subjects whose high number of life stress events had higher anxiety than those low number of life stress events (p<0.01). Factors associated to depression are as follows: Age: Subjects whose old ages had higher depression than those younger (p<0.05). Status: Subjects whose marital status had higher depression than those whose single (p<0.05). Age of diagnosis: Subjects whose old ages had higher depression than those younger (p<0.05). Severity of pain from breast cancer: Subjects whose high severity of pain had higher depression than those low severity of pain (p<0.05). Side effects before and after receiving chemotherapy: Subjects whose high side effects had higher depression than those low side effects (p<0.05, p<0.01). Life stress event: Subjects whose high number of life stress event had higher depression than those low number of life stress event (p<0.01). Social support: Subjects whose low social support had higher depression than those high social support (p<0.01). The factors which still predicted anxiety were insomnia symptom after receiving chemotherapy, severity of pain from breast cancer, life stress event, social support, fever and diarrhea symptom after receiving chemotherapy were predictive power as 23.9% (R2=0.239) of the variance. The factors which still predicted depression were fatigue symptom before receiving chemotherapy, social support, life stress event, age of diagnosis to breast cancer, age and anemia symptom after receiving chemotherapy werw predictive power as 27.9% (R2=0.279)




วิทยานิพนธ์นิสิตในเวลาราชการรุ่น 20

ศิริสรา ลิปิพันธ์
วนัญญา แก้วแก้วปาน
มุทิตา คงปั้น
พิมพ์รัก สินสมบูรณ์ทอง
ฤทัยรัตน์ ศรีทอง
นภาพร โกมลพันธ์
จิณณพัต ธีรอภิศักดิ์กุล
กัลยพร นันทชัย
กนกพรรณ กรรณสูต



Copyright © 2011 All Rights Reserved.
Department of Psychiatry, Faculty of Medicine, Chulalongkorn University BANGKOK 10330
Tel: (662) 256-4000-61509