ReadyPlanet.com
dot dot




หลักสูตร วท.ม.สาขาวิชาสุขภาพจิต

 

บรรยากาศในการเรียน : 
       
 เป็นการเรียนทฤษฎีร่วมกับปฏิบัติ โดยคณาจารย์ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ และวิทยากรจากหน่วยงานต่างๆ มีการดูงานในองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน การจัดกิจกรรมในชุมชน การสัมมนาเพื่อรู้จักและพัฒนาตนเอง 

คุณสมบัติผู้สมัคร :
        Ø
 จบปริญญาตรี (ทุกสาขา) 

การสอบ :
        Ø
 ภาษาอังกฤษ CU-TEP
        Ø
 ข้อเขียน วิชาพฤติกรรมศาสตร์ ข้อสอบปรนัย 100 ข้อ
        Ø
 สอบสัมภาษณ์


หลักสูตรเน้น :
       1. สุขภาพจิตครอบครัว
 
       2. ปัญหาสุขภาพจิตในเด็กและผู้ใหญ่
       3. การพัฒนาตนเอง
 
       4. การป้องกันและส่งเสริมสุขภาพจิต
 
       5. การให้คำปรึกษาด้านสุขภาพจิต


 ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง

 1. การพัฒนาคุณลักษณะพิเศษของนิสิต

                คุณลักษณะพิเศษของนิสิตที่ทางหลักสูตรฯคาดหวังมีลักษณะดังต่อไปนี้

 

 

 

คุณลักษณะพิเศษ

 

 

 

 

กลยุทธ์หรือกิจกรรมของนิสิต

 

1.1 มีความรู้เชิงลึกด้านสุขภาพจิตที่ทันสมัย

- การเรียนด้านสุขภาพจิตในรายวิชาต่างๆ

1.2 มีทักษะและความคิดริเริ่มในการปฏิบัติและพัฒนางานด้านส่งเสริม ป้องกัน บำบัดและฟื้นฟูสุขภาพจิต

- การจัดทำกิจกรรมพัฒนาสุขภาพจิตแก่ประชาชน ในโครงงาน และรายวิชาต่างๆ

- การฝึกปฏิบัติการสัมภาษณ์และการทำจิตบำบัด

1.3 มีทักษะในการดำเนินงานวิจัยทางสุขภาพจิต สามารถวิเคราะห์ทางสถิติ นำเสนอผลงาน และตีพิมพ์เผยแพร่อย่างถูกต้องตามจริยธรรมการวิจัยและจรรยาบรรณนักวิจัย

- การเรียนการสอนในรายวิชาด้านการทำวิจัย

- การอนุมัติการวิจัยโดยคณะกรรมการจริยธรรม

- โครงการจัดการปรึกษาด้านสถิติแก่นิสิต

- การสอบโครงร่างและป้องกันวิทยานิพนธ์

1.4 สามารถทำงานเป็นทีมหรือมีส่วนร่วมในกลุ่มงานหรือเป็นผู้นำได้อย่างมีประสิทธิภาพเหมาะสมกับสถานการณ์ วัฒนธรรม และสังคม

- การมอบหมายงานเป็นกลุ่มในการทำกิจกรรม

- การจัดโครงการพัฒนาทักษะการทำงานเป็นทีม

- การเข้าร่วมกิจกรรมที่ส่งเสริมวัฒนธรรมไทย

1.5 สามารถพัฒนาความสามารถในการสื่อสาร การเข้าใจตนเอง และผู้อื่น

-การจัดโครงการพัฒนานิสิตประจำปี

- การเรียนเรื่องการสื่อสารและการทำจิตบำบัด

1.6 มีความรู้รอบตัวและสามารถเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่อง

- การเรียนการสอนรายวิชาด้านสังคม

- การให้ศึกษาค้นคว้าความรู้ใหม่ด้วยตนเอง และนำเสนอหน้าชั้นเรียน

 

 2. การพัฒนาผลการเรียนรู้ในแต่ละด้าน

2.1 มีความรู้

ผลการเรียนรู้

กลยุทธ์การสอนที่ใช้พัฒนาการเรียนรู้

กลยุทธ์การประเมินผล     การเรียนรู้

2.1.1 มีความรู้รอบตัว และสามารถประยุกต์ใช้ในการดํารงชีวิต รู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม

- การเรียนการสอน รายวิชาด้านสังคม เช่น รายวิชาปัจจัยทางสังคมและวัฒนธรรมฯ

 

- การให้เกรดของรายวิชา

- การจัดทำรายงานหรือนำเสนอหัวข้อที่เกี่ยวข้องกับปัญหาทางสังคม

2.1.2 มีความรู้ที่ทันสมัย ในสาขาวิชาสุขภาพจิต  เข้าใจอย่างลึกซึ้งในเนื้อหาสาระหลัก และมีความรู้ในการพัฒนาความรู้ใหม่ และประยุกต์ใช้

- การเรียนการสอนด้านสุขภาพจิตในภาคทฤษฎี และภาคปฏิบัติ ทั้งในระดับพื้นฐาน และระดับประยุกต์

- การให้เกรดของแต่ละรายวิชา

 

 

 

 

 2.2 มีคุณธรรม

ผลการเรียนรู้

กลยุทธ์การสอนที่ใช้พัฒนาการเรียนรู้

กลยุทธ์การประเมินผล     การเรียนรู้

2.2.1 มีคุณธรรมและจริยธรรม -เป็นผู้มีความรับผิดชอบ มีระเบียบวินัย ตรงต่อเวลาซื่อสัตย์สุจริต ดำรงตนให้เป็นผู้ศรัทธาในความดีและอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างมีความสุข

 

- การกำหนดและแจ้งข้อตกลงเรื่องความประพฤติของนิสิตในวันปฐมนิเทศ และการปฏิบัติตามระเบียบและข้อบังคับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

 

- ใบรายชื่อและเวลาที่เข้าเรียน

- การไม่มีข้อร้องเรียนความประพฤติที่เสื่อมเสียของนิสิตตลอดระยะเวลาศึกษา

2.2.2 มีจรรยาบรรณในด้านการประกอบอาชีพ มีทักษะในการดำเนินงานวิจัยทางสุขภาพจิตอย่างถูกต้องตามจริยธรรมการวิจัยและจรรยาบรรณนักวิจัย

- การเรียนจริยธรรมในรายวิชาการวิจัยฯ และสอดแทรกเนื้อหาจรรยาบรรณวิชาชีพในรายวิชาที่มีกรณีศึกษา เช่น จิตบำบัดต่างๆ

- การมีคณะกรรมการจริยธรรม ในการตรวจสอบโครงร่าง นอกเหนือจากการสอบโครงร่างและป้องกันวิทยานิพนธ์

- การไม่มีข้อร้องเรียนในการกระทำผิดจริยธรรมวิชาชีพหรือการวิจัย

- การให้เกรดของรายวิชา

การได้รับการอนุมัติการทำวิจัยโดยคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัย

 

2.3 คิดเป็น

ผลการเรียนรู้

กลยุทธ์การสอนที่ใช้พัฒนาการเรียนรู้

กลยุทธ์การประเมินผล    การเรียนรู้

2.3.1 สามารถคิดอย่างมีวิจารณญาณ มีตรรกะ สมเหตุผล และประเมินความรู้เดิมไปประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสม

- การเรียนการใช้เหตุผลทางวิทยาศาสตร์ในรายวิชาการวิจัยฯ

- การฝึกการอ่านและวิพากษ์งานวิจัยในรายวิชาการวิจัยฯ

- การทำวิทยานิพนธ์

- การให้เกรดของรายวิชา

 

- รายงานการฝึกการอ่านและวิพากษ์งานวิจัย

- ผลการประเมินวิทยานิพนธ์

2.3.2 สามารถมีความคิดริเริ่มในการปฏิบัติและพัฒนางานด้านส่งเสริม ป้องกัน บำบัดและฟื้นฟูสุขภาพจิต

- การมอบหมายให้จัดทำกิจกรรมพัฒนาสุขภาพจิตแก่ประชาชน เช่น โครงการHappy Kids และโครงงานในรายวิชาสุขภาพจิตชุมชน

- การให้เกรดของรายวิชา

- ผลการประเมินกิจกรรมโดยประชาชนผู้เข้าร่วมงาน

 

2.3.3 การมีทักษะและความสามารถในการแก้ไขปัญหาให้กับตนเองหรือบุคคลอื่น

- การเรียนและการฝึกการสัมภาษณ์และการทำจิตบำบัดให้แก่ผู้ที่มีปัญหาชีวิตที่ส่งผลกระทบต่อตนเอง ครอบครัว หรือ สังคม เช่น รายวิชาการให้คำปรึกษาเบื้องต้น จิตบำบัดต่างๆ จิตเวชศาสตร์คลินิก และ กุมารจิตเวชศาสตร์คลินิก

- การให้เกรดของรายวิชา

 2.4 ทำเป็น

ผลการเรียนรู้

กลยุทธ์การสอนที่ใช้พัฒนาการเรียนรู้

กลยุทธ์การประเมินผลการเรียนรู้

2.5.1 มีทักษะทางวิชาชีพในการปฏิบัติและพัฒนางานด้านส่งเสริม ป้องกัน บำบัดและฟื้นฟูสุขภาพจิต และมีทักษะในการดำเนินงานวิจัยทางสุขภาพจิต

- การมอบหมายให้จัดทำกิจกรรมพัฒนาสุขภาพจิตแก่ประชาชน เช่น โครงการHappy Kids และโครงงานในรายวิชาสุขภาพจิตชุมชน

- การเรียนการสอนในรายวิชาที่เกี่ยวกับการวิจัยและวิทยานิพนธ์

- การให้เกรดของรายวิชา

- ผลการประเมินกิจกรรมโดยประชาชนผู้เข้าร่วมงาน

 

 

- ผลการประเมินวิทยานิพนธ์

ผลการเรียนรู้

กลยุทธ์การสอนที่ใช้พัฒนาการเรียนรู้

กลยุทธ์การประเมินผลการเรียนรู้

2.5.2 มีทักษะในการสื่อสาร

- มีทักษะการสื่อสารเพื่อใช้ในชีวิตประจำวัน และการประกอบวิชาชีพ

 

- มีความสามารถอ่านและเข้าใจบทความทางวิชาการสุขภาพจิตทั้งภาษาไทยและอังกฤษ และสามารถเขียน และนำเสนอบทความทางวิชาการ งานวิจัยหรือบทคัดย่อผลงานวิจัยเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ

 

- การเรียนเรื่องการสื่อสารและความสัมพันธ์ของมนุษย์ในรายวิชาพฤติกรรมศาสตร์ฯ การให้คำปรึกษาเบื้องต้นฯ และ การทำจิตบำบัดชนิดต่างๆ

- การฝึกการอ่านและวิพากษ์งานวิจัยในรายวิชาการวิจัยฯ

- การตีพิมพ์ผลงานวิจัย

- การนำเสนอในการสอบโครงร่างและการป้องกันวิทยานิพนธ์

- การให้ทำรายงาน และ/หรือนำเสนอหน้าชั้นเรียนในรายวิชาต่างๆ เช่น  ปัจจัยทางสังคมฯ การวิจัยฯ สุขภาพจิตชุมชน

 

- การให้เกรดของรายวิชาต่างๆ

 

 

- รายงานการฝึกการอ่านและวิพากษ์งานวิจัย

- บทความที่ส่งตีพิมพ์ในวารสาร

- ผลการประเมินวิทยานิพนธ์

 

- ผลการประเมินการจัดทำรายงานหรือนำเสนอในรายวิชาต่างๆ

2.4.3 มีทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการ สืบค้น วิเคราะห์ ติดตามงานวิชาการด้านสุขภาพจิต และใช้ทักษะดังกล่าวในการนำเสนอผลงานทางวิชาการ

- สอนวิธีการใช้ e-library ภาควิชาฯ ในวันปฐมนิเทศ และการอบรมการใช้ห้องสมุดของคณะฯ

- การมอบหมายให้ค้นคว้าผลงานวิชาการทางสุขภาพจิตในรายวิชาการวิจัยค่างๆ

- การนำเสนอผลงานหน้าชั้นเรียนด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำหรับเสนอผลงาน

- การทำวิทยานิพนธ์

- การใช้บริการการเข้าค้นหรือยืมหนังสือผ่านระบบ e-library

 

- รายงานการฝึกการอ่านและวิพากษ์งานวิจัย

 

- ผลการประเมินการนำเสนอหน้าชั้น

 

- ผลการประเมินวิทยานิพนธ์

2.4.4 มีทักษะในการใช้โปรแกรมคำนวณทางสถิติเพื่อใช้ในงานวิจัยทางสุขภาพจิต

- การเรียนโปรแกรม SPSS ในรายวิชาการวิจัยฯ

- โครงการจัดการปรึกษาด้านสถิติการวิจัยแก่นิสิต

- การให้เกรดของรายวิชา 

ผลงานวิจัยที่มีการใช้โปรแกรมคำนวณทางสถิติ



ผลการเรียนรู้

กลยุทธ์การสอนที่ใช้พัฒนาการเรียนรู้

กลยุทธ์การประเมินผลการเรียนรู้

2.4.5 มีทักษะความสามารถในการบริหารจัดการ การทำงานเป็นทีม หรือมีส่วนร่วมในกลุ่มงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

-  การมอบหมายงานกลุ่มในรายวิชาหรือกิจกรรมต่างๆ

- การจัดกิจกรรมพัฒนาทักษะการเป็นผู้นำและการทำงานเป็นทีม เช่น โครงการอบรมทักษะการจัดกิจกรรมสำหรับเด็ก

- ตำแหน่งหน้าที่ความรับผิดชอบของนิสิตในงานกิจกรรมต่างๆ

- การเข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาทักษะการเป็นผู้นำและการทำงานเป็นทีมครบตามกำหนด

 2.5 ใฝ่รู้และรู้จักวิธีการเรียนรู้

ผลการเรียนรู้

กลยุทธ์การสอนที่ใช้พัฒนาการเรียนรู้

กลยุทธ์การประเมินผลการเรียนรู้

2.5.1 มีความใฝ่รู้ แสวงหาความรู้ทางสุขภาพจิตด้วยตนเองอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง

- การมอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าความรู้ใหม่ด้วยตนเอง และนำเสนอหน้าชั้นเรียนในรายวิชาปัจจัยทางสังคมฯ การวิจัยฯ สุขภาพจิตชุมชน

- การให้ค้นคว้ากรณีศึกษาในรายวิชา จิตเวชศาตร์คลินิก และกุมารจิตเวชศาสตร์คลินิก

- ผลการประเมินการจัดทำรายงานหรือนำเสนอในรายวิชาต่างๆ

 

 

- ผลประเมินรายงานกรณีศึกษาในรายวิชาต่างๆ

2.5.2 รู้จักเทคนิคและวิธีการในการเรียนรู้เพิ่มเติม และนำไปใช้ได้อย่างเหมาะสม

- สอนวิธีการใช้ e-library ภาควิชาฯในการปฐมนิเทศและอบรมการใช้ห้องสมุดของคณะฯ

- การใช้บริการการเข้าค้นข้อมูลหรือยืมหนังสือผ่านระบบ e-library

 2.6 มีภาวะผู้นำ

ผลการเรียนรู้

กลยุทธ์การสอนที่ใช้พัฒนาการเรียนรู้

กลยุทธ์การประเมินผลการเรียนรู้

มีคุณสมบัติของการเป็นผู้นำกล้าแสดงออก มองการณ์ไกล และสามารถนำกลุ่มกิจกรรมทางสุขภาพจิตได้

- การจัดกิจกรรมพัฒนาทักษะการเป็นผู้นำและการทำงานเป็นทีม เช่น โครงการอบรมทักษะการจัดกิจกรรมสำหรับเด็ก

- การเข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาทักษะการเป็นผู้นำและการทำงานเป็นทีมครบตามกำหนด

- ผลการประเมินตนเองและกิจกรรม

2.7 มีสุขภาวะ

ผลการเรียนรู้

กลยุทธ์การสอนที่ใช้พัฒนาการเรียนรู้

กลยุทธ์การประเมินผลการเรียนรู้

มีความสามารถในการเข้าใจตนเองและผู้อื่น รู้จักวิธีการดูแลสุขภาพกายและจิตของตนเอง

- การจัดโครงการพัฒนานิสิต เช่น การพัฒนาบุคลิกภาพและการรู้จักตนเองโดยอาศัยแนวคิดEnneagram และ กลุ่มความเจริญส่วนบุคคลโดยอาศัยกระบวนการกลุ่มเชิงจิตวิทยาแนว Personal Growth Group

- การเข้าร่วมโครงการพัฒนานิสิตครบตามกำหนด

- ผลการประเมินตนเองและกิจกรรม

 2.8 มีจิตอาสาและสำนึกสาธารณะ

ผลการเรียนรู้

กลยุทธ์การสอนที่ใช้พัฒนาการเรียนรู้

กลยุทธ์การประเมินผลการเรียนรู้

มีจิตอาสาจัดกิจกรรมทางสุขภาพจิตให้แก่สังคมโดยไม่คำนึงถึงผลประโยชน์ส่วนตน มีความห่วงใยต่อสังคม

- การให้นิสิตเป็นผู้ดำเนินการจัดกิจกรรมการกุศลของโรงพยาบาลตามเทศกาล เช่น การคัดกรองและให้คำปรึกษาผู้มีปัญหาทางสุขภาพจิต ในวันพ่อแห่งชาติ และวันแม่แห่งชาติ

- การเข้าร่วมกิจกรรมการกุศลต่างๆ

- ผลการประเมินตนเองและกิจกรรม

 2.9 ดำรงความเป็นไทยในกระแสโลกาภิวัฒน์

ผลการเรียนรู้

กลยุทธ์การสอนที่ใช้พัฒนาการเรียนรู้

กลยุทธ์การประเมินผลการเรียนรู้

สามารถดำรงชีวิตส่วนตัว และมีทักษะความรู้ด้านสุขภาพจิตที่เหมาะสมกับสถานการณ์ วัฒนธรรม และสังคมที่เปลี่ยนแปลง โดยยังคงความเป็นไทยในกระแสโลกาภิวัฒน์

-  การให้เลือกหัวข้อการอภิปรายในรายวิชาปัจจัยทางสังคมและวัฒนธรรมฯ โดยอิงตามการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมไทยในปัจจุบัน และการจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมวัฒนธรรมไทยและประเพณี

 - การให้เกรดในรายวิชา

- การเข้าร่วมกิจกรรม เช่น งานวันอานันทมหิดล วันไหว้ครู งานทำบุญเลี้ยงพระวันเกิดภาควิชาฯ งานประเพณีวันขึ้นปีใหม่ของภาควิชาฯ

 




ข่าวสารหลักสูตร

ข้อมูลการรับสมัครเข้าศึกษา ระดับปริญญามหาบัณฑิต สาขาสุขภาพจิต
ความประทับใจของศิษย์เก่าที่มีต่อหลักสูตร วท.ม.สาขาสุขภาพจิต
ขั้นตอนการสมัครเข้าศึกษา (ภาคในเวลาราชการ)
ขั้นตอนการสมัครเข้าศึกษา (ภาคบางเวลา)
ประชุมวิชาการครบรอบ 30 ปี หลักสูตร วท.ม. สุขภาพจิต เรื่อง “Mental Health in All Dimensions”
ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์เข้าศึกษาในหลักสูตร วท.ม. สาขาสุขภาพจิต
งานมุทิตาจิต รศ.พญ.ภิรมย์ สุคนธาภิรมย์ ณ พัทลุง
ประกาศรายชื่อผู้สอบผ่านข้อเขียนและมีสิทธิ์เข้ารับการสัมภาษณ์
สถานที่สอบข้อเขียน
ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบข้อเขียน ปีการศึกษา 2561
สำรวจชุมชนเพื่อจัดโครงการส่งเสริมสุขภาพจิต
แบบสอบถามเกี่ยวกับภาระงานและหน้าที่ความรับผิดชอบ
แบบวัดอาการวิตกกังวลและอาการซึมเศร้าฉบับภาษาไทย Thai Hospital Anxiety and Depression Scale ฉบับภาษาไทย
ความฉลาดทางอารมณ์
เครื่องมือประเภท Psychosocial
เครื่องมือประเภท Behavior
เครื่องมือประเภท Neurotic
เครื่องมือประเภท Psycho
ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบสัมภาษณ์ ปีการศึกษา 2559
ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบข้อเขียน ปีการศึกษา 2559



Copyright © 2011 All Rights Reserved.
Department of Psychiatry, Faculty of Medicine, Chulalongkorn University BANGKOK 10330
Tel: (662) 256-4000-61509