ReadyPlanet.com
dot dot




โครงการ : สุขภาพจิตดีชีวีมีสุข ปีการศึกษา 2558

 

 

       เนื่องด้วยรายวิชาสุขภาพจิตชุมชนเป็นวิชาที่เปิดโอกาสให้นิสิตหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสุขภาพจิต ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ ชั้นปีที่ 2 ได้เข้าไปสำรวจสภาพแวดล้อม เรียนรู้วิถีชีวิตของคนในชุมชน และ วิเคราะห์ปัญหา เพื่อหาวิธีส่งเสริม ป้องกัน ฟื้นฟูและพัฒนาสุขภาวะของคนในชุมชนเป้าหมายของการศึกษาชุมชน คือให้นิสิตได้ร่วมมือกันวางแผนโครงการเพื่อช่วยเหลือและให้ความรู้แก่คนในชุมชนในรูปแบบของการจัดกิจกรรม อาทิ จัดให้มีการตรวจสุขภาพกับคลินิกศูนย์แพทย์พัฒนาตรวจคัดกรองและให้คำปรึกษาด้านสุขภาพจิต กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพด้วยการออกกำลังกาย กิจกรรมให้ความรู้เกี่ยวกับการผ่อนคลายความเครียด และกิจกรรมสร้างอาชีพ เพื่อให้คนในชุมชนนั้นสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับตนเองและผู้อื่นได้อย่างยั่งยืนต่อไป 
 
วัตถุประสงค์ในการจัดกิจกรรม
1.เพื่อเรียนรู้วิถีชีวิต สภาพแวดล้อม และปัญหาของคนในชุมชน
2.สามารถนำความรู้ที่ได้เรียนมาประยุกต์ใช้ในการจัดกิจกรรม เพื่อส่งเสริม ป้องกัน ฟื้นฟูและพัฒนาสุขภาวะ
ของคนในชุมชนได้อย่างเหมาะสม 
3.สามารถเรียนรู้กระบวนการในการทำงานร่วมกันของสหสาขาวิชา และร่วมกันดูแลคนในชุมชนได้อย่าง
เหมาะสม
  
การดำเนินโครงการ
 
ขั้นตอนที่ 1 : สำรวจชุมชน โดยสำรวจสภาพแวดล้อม วิถีชีวิตความเป็นอยู่ กลุ่มประชากร ช่วงวัย จำนวนผู้สูงอายุ ปัญหาของคนในชุมชนทั้งปัญหาสุขภาพกาย และปัญหาสุขภาพจิต เพื่อทราบถึงลักษณะของชุมชน และปัญหาเบื้องต้น จากนั้นนำข้อมูลที่ได้มาร่วมกันวิเคราะห์และวางแผนการสำรวจปัญหา

ขั้นตอนที่ 2 : ลงสำรวจชุมชน โดยให้คนในชุมชนตอบแบบสำรวจ เพื่อค้นหาปัญหาสุขภาพร่างกายและจิตใจ ที่เกิดขึ้นในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมาโดยใช้แบบประเมินความสุขของผู้สูงอายุ จากนั้นมาสรุปผลการตอบแบบสำรวจ แล้วร่วมกันวิเคราะห์ปัญหากันในกลุ่ม เพื่อนำไปสู่การออกแบบกิจกรรมที่เหมาะสมกับคนในชุมชน

ขั้นตอนที่ 3 : ขั้นดำเนินการจัดกิจกรรม โดยแบ่งกิจกรรมเป็น 2 ส่วนคือ
                        1. กิจกรรมลงชุมชน
      โดยแบ่งกลุ่มนิสิตเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มละ 2 คน ลงพื้นที่เพื่อตรวจสุขภาพร่างกาย และสุขภาพจิต ตามบ้านของคนในชุมชน โดยเฉพาะบ้านที่สำรวจแล้วพบว่ามีความเครียดอยู่ในระดับปานกลางถึงระดับสูง และบ้านที่ไม่สามารถออกมาร่วมกิจกรรมส่วนกลางได้ พร้อมให้คำปรึกษา และแนะนำการดูแลสุขภาพทั้งทางร่างกาย และจิตใจร่วมกันอย่างองค์รวม
      2. กิจกรรมส่วนกลางแบ่งออกเป็น 3 ฐาน ดังนี้
           ฐานที่1  ตรวจคัดกรองสุขภาพ และให้คำปรึกษา โดยทีมพยาบาลจากคลินิกศูนย์แพทย์พัฒนา
                       ร่วมกับนิสิต
 
           ฐานที่2  กิจกรรมออกกำลังกายและผ่อนคลายกล้ามเนื้อ

           ฐานที่3  กิจกรรมให้ความรู้เกี่ยวกับการผ่อนคลายความเครียด
 
               ฐานที่ 4   กิจกรรมสันทนาการ
 
               ฐานที่ 5   กิจกรรมสร้างอาชีพ
 
 
สรุปกิจกรรม
     1. กิจกรรมลงชุมชน
กิจกรรมนี้ทางกลุ่มที่ดำเนินกิจกรรมได้แยกกันไปตามเส้นทางที่เคยสำรวจซึ่งในการสำรวจครั้งแรกเป็นจำนวน 50 คน พบว่าคนในชุมชนที่มีระดับคะแนนความเครียดปานกลาง-ระดับสูง มีจำนวน 15 คน ทางกลุ่มจึงจัดนิสิต และเจ้าหน้าที่ลงไปตามบ้านที่มีระดับคะแนนความเครียดปานกลาง-ระดับสูง เพื่อพูดคุย สอบถามเกี่ยวกับอาการ และเหตุการณ์ต่างๆที่เข้ามากระทบทำให้เกิดความเครียด ความกังวลใจ กิจกรรมได้รับการตอบรับ และความร่วมมือที่ดีของคนในชุมชน ผลการดำเนินงาน หลังจากการเยี่ยมบ้านแต่ละหลังที่มีระดับคะแนนความเครียดปานกลาง-ระดับสูง พบว่า หลังจากการพูดคุยทุกคนมีกำลังใจมากขึ้น
     2. กิจกรรมส่วนกลาง
คนในชุมชนให้ความสนใจในกิจกรรมทั้ง 3 กิจกรรม จำนวน 25 คน แบ่งเป็นเพศชาย 1 คน เพศหญิง 24 คนคะแนนเฉลี่ยความพึงพอใจต่อโครงการ “สุขภาพดีชีวีมีสุข” เท่ากับ 4.45 คะแนน จากคะแนนเต็ม 5 คะแนน ซึ่งอยู่ในระดับมากที่สุด ผลการตรวจวัดสุขภาพ เช่นระดับน้ำตาลในเลือด และค่าความดันโลหิต พบว่าคนในชุมชนส่วนใหญ่มีระดับน้ำตาลในเลือดและค่าความดันโลหิตอยู่ในระดับที่ปกติ ซึ่งอาจหมายถึง คนในชุมชนสามารถดูแลตนเองจากโรคทางกายที่เป็นอยู่ได้เป็นอย่างดี และมีแนวทางในการดูแลตนเองได้ดีพอสมควร แต่พบบางส่วนที่มีปัญหา เมื่อได้รับคำปรึกษาด้านสุขภาพกาย และสุขภาพจิตแล้วพบว่ามีความตระหนักถึงปัญหามากขึ้นและทราบวิธีดูแลตนเองเพื่อจัดการกับปัญหาได้อย่างเหมาะสมในส่วนของกิจกรรมออกกำลังกายตามหลักการแพทย์แผนไทย และกิจกรรมผ่อนคลายความเครียด พบว่าคนในชุมชนให้ความสนใจเป็นอย่างดี มีความสนใจ และสามารถนำกิจกรรมทั้ง นี้ไปใช้ในชีวิตประจำวันเพื่อเป็นการดูแลสุขภาพของตนเองต่อไป

 

ภาพกิจกรรม

 




ข่าวกิจกรรมสำหรับประชาชน

5 ธันวาคม 2565
12 สิงหาคม 2565
ปั้นใหม่ โดยอาจารย์หมออุมาพร
โครงการ : สุขภาพจิตดีชีวีมีสุข ปีการศึกษา 2557



Copyright © 2011 All Rights Reserved.
Department of Psychiatry, Faculty of Medicine, Chulalongkorn University BANGKOK 10330
Tel: (662) 256-4000-61509