แบบสอบถามความสุขใจในการทำงาน สุชีรา ภัทรายุตวรรตน์
ปรับปรุงจากแบบสอบถามความคิดเห็นของผู้ตอบที่มีต่อองค์ประกอบต่างๆ ที่ก่อให้เกิดความสุขใจในการทางาน ของสุชีรา ภัทรายุตวรรตน์ มีจำนวนข้อคาถาม ทั้งหมด 23 ข้อ สร้างขึ้นตามแนวคิดทฤษฎีแรงจูงใจของ Frederick Herzberg ประกอบด้วยข้อคาถามที่ใช้วัดความสุขใจในการทำงาน 2 ด้าน คือ
2.1. แรงจูงใจด้านปัจจัยค้ำจุน ประกอบด้วย 9 ด้าน คือ เงินเดือน โอกาสในความก้าวหน้าความสัมพันธ์กับผู้บังคับบัญชาและเพื่อนร่วมงาน สถานะทางอาชีพ สภาพการทำงาน นโยบายและการบริหารความเป็นอยู่ส่วนตัว ความมั่นคงในงาน วิธีการปกครองของผู้บังคับบัญชา
2.2 แรงจูงใจด้านปัจจัยจูงใจ ประกอบด้วย 5 ด้าน คือ ความสำเร็จในงาน การได้รับการยอมรับนับถือ
ลักษณะของงานที่ปฏิบัติ ความรับผิดชอบ ความก้าวหน้าในงานลักษณะข้อคำถามเป็นคำถามปลายปิด เป็นแบบสอบถามความคิดเห็น ระดับความพึงพอใจในงาน มีลักษณะแบบมาตราส่วนประมาณ (Rating Scale) แบ่งเป็นข้อคำถามในเชิงบวก และข้อคำถามในเชิงลบ
ข้อคำถามในเชิงบวก (Positive item) กำหนดค่าดังนี้
5 คะแนน หมายถึง มีความพึงพอใจมากที่สุด
4 คะแนน หมายถึง มีความพึงพอใจมาก
3 คะแนน หมายถึง มีความพึงพอใจปานกลาง
2 คะแนน หมายถึง มีความพึงพอใจน้อย
1 คะแนน หมายถึง มีความพึงพอใจน้อยที่สุด
ข้อคำถามในเชิงลบ(Negative item) กำหนดค่าดังนี้
1 คะแนน หมายถึง มีความพึงพอใจมากที่สุด
2 คะแนน หมายถึง มีความพึงพอใจมาก
3 คะแนน หมายถึง มีความพึงพอใจปานกลาง
4 คะแนน หมายถึง มีความพึงพอใจน้อย
5 คะแนน หมายถึง มีความพึงพอใจน้อยที่สุด
ความเที่ยงตรงจากการนำแบบสอบถามไปทาการทดสอบนำร่อง ความสอดคล้องภายใน (internal consistency) แบบ Cronbach’s alpha ได้ค่าสัมประสิทธิ์ความเที่ยงเท่ากับ 0.89 และแบบแบ่งครึ่ง (odd-even) ได้ค่าสัมประสิทธิ์ความเที่ยงเท่ากับ 0.85
การแปลผล กำหนดค่าเกณฑ์ความสุขใจในการทำงานดังนี้
คะแนนเฉลี่ย การแปลผล
4.51 - 5.00 ความสุขใจในการทำงานอยู่ในเกณฑ์สูงมากที่สุด
3.51 - 4.50 ความสุขใจในการทำงานอยู่ในเกณฑ์สูงมาก
2.51 - 3.50 ความสุขใจในการทำงานอยู่ในเกณฑ์ปานกลาง
1.51 - 2.50 ความสุขใจในการทำงานอยู่ในเกณฑ์ต่ำ
1.00 - 1.50 ความสุขใจในการทำงานอยู่ในเกณฑ์ต่ำมาก