แบบประเมินคุณภาพชีวิต Padilla and Grant
ใช้แบบประเมินของ วนิดา รัตนานนท์ ปรับปรุงและดัดแปลงจากแบบประเมินคุณภาพชีวิตของสมจิต หนุเจริญกุล(2531) ตามแนวคิดของ Padilla and Grant (1985) เนื้อหาประกอบด้วยคำถาม 6 ด้านคือ
ด้านความผาสุกด้านร่างกาย ประกอบด้วยข้อคำถาม 4 ข้อ คือ 1,3,9,24
ด้านความผาสุกด้านจิตใจประกอบด้วยข้อคำถาม 6 ข้อ คือ 4,5,16,20,22,23
ด้านความรู้สึกเกี่ยวกับภาพลักษณ์ของตนเองประกอบด้วยข้อคำถาม 6ข้อ คือ 2,8,10,11,13,19
ด้านการตอบสนองต่อการวินิจฉัยและการรักษาด้านผ่าตัดประกอบด้วยข้อคำถาม 2 ข้อ คือ 7,21
ด้านการตอบสนองต่อการวินิจฉัยและการรักษาด้านโภชนาการประกอบด้วยข้อคำถาม 2 ข้อ คือ 14,17
ด้านความรู้สึกต่อสังคมที่อยู่รอบตัวประกอบด้วยข้อคำถาม4 ข้อ คือ 6,12,15,18
เดิมมีข้อความทั้งหมด 23 ข้อได้ดัดแปลงและปรับข้อความในข้อ 1 ,7 ,11 ,19 และเพิ่มข้อ 24 เพื่อให้เหมาะสมกับผู้ป่วยมะเร็งเต้านมหลังทำผ่าตัด ข้อคำถามทั้ง 24 ข้อเป็นแบบประเมินคุณภาพชีวิตผู้ป่วยมะเร็งเต้านมหลังผ่าตัดโดยมีเกณฑ์ในการเลือกตอบและการให้คะแนนแต่ละข้อกำหนดเป็นมาตราส่วนประมาณค่าเชิงเส้นตรงโดยมีตัวเลขบอกค่าคะแนนคุณภาพชีวิตบนเส้นตรงซึ่งเป็นแบบสอบถามประมาณค่าเส้นตรงแบบตัวเลข (Numeric scale) ตำแหน่ง 0 บอกค่าคุณภาพชีวิตในระดับต่ำสุด ตำแหน่ง 100 บอกค่าคุณภาพชีวิตในระดับสูงสุด
0 10 20 30 40 50 60 70 80 90 100
ไม่มีเลย มีมากที่สุด
การแปลผลคะแนน
คะแนนเฉลี่ยคุณภาพชีวิต 0-33 หมายถึงมีการรับรู้คุณภาพชีวิต ระดบั ต่า
คะแนนเฉลี่ยคุณภาพชีวิต > 33-66 หมายถึงมีการรับรู้คุณภาพชีวิต ระดบั ปานกลาง
คะแนนเฉลี่ยคุณภาพชีวิต >66-100 หมายถึงมีการรับรู้คุณภาพชีวิต ระดบั สูง