แบบสอบถามการเผชิญความเครียด Jalowiec Coping Scale
แบบสอบถามการเผชิญความเครียด Jalowiec Coping Scale (1988) ซึ่งแปลเป็นภาษาไทยโดย หทัยรัตน์ แสงจันทร์ (2541) ซึ่งใช้ศึกษาในกลุ่มผู้ป่วยที่รับการผ่าตัดการตรวจชิ้นเนื้อที่เต้านมประกอบด้วยข้อ คำ ถาม 36 ข้อโดยเบ็ญจรัตน์ ชีวพูนผล ได้นำมาดัดแปลงปรับข้อคำถาม และปรับข้อความเล็กน้อยจากคำว่าก้อนที่เต้านมเป็นการเจ็บป่วยด้วยโรคมะเร็งเต้านมและนำไปใช้ในกลุ่มตัวอย่าง 30 รายพบว่ามีค่า สัมประสิทธ์ิแอลฟาของครอนบาคค่อนข้างต่า จึงได้มีการปรับข้อความให้สอดคล้องและเข้าใจง่ายขึ้นในกลุ่ม ผู้ป่วยมะเร็งเต้านมทำให้ได้ค่าสัมประสิทธ์ิแอลฟาของครอนบาคเพิ่มขึ้นเป็น.72แบบสอบถามแบ่งเป็นการ
ประเมิน 3 ด้าน คือ
ด้านการมุ่งแก้ปัญหา ประกอบด้วยข้อคา ถาม 13 ข้อ
ด้านการจัดการกับอารมณ์ ประกอบด้วยข้อคา ถาม 9 ข้อ
ด้านการบรรเทาความรู้สึกเครียด ประกอบด้วยข้อคา ถาม 14 ข้อ
แบบสอบถามใช้มาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีเกณฑ์การให้คะแนนดังนี้
ไม่ได้ใช้ ให้คะแนน 1
ใช้นานๆครั้ง ให้คะแนน 2
ใช้เป็นบางครั้ง ให้คะแนน 3
ใช้บ่อยๆ ให้คะแนน 4
ใช้ตลอดหรือเป็นประจา ให้คะแนน 5
การแปลผลเป็นค่าเฉลี่ยรายด้านของทุกด้านอยู่ในช่วง 1-5 ถ้าคะแนนรายด้านใดมากแสดงว่ากลุ่มตัวอย่างใช้วิธีนั้นในการเผชิญกับความเครียดในการแปลผลคะแนนใช้เกณฑ์ของชูศรี วงศ์รัตนะ (2544) ดังนี้
อันตรภาคชั้น = พิสัย
จำนวนกลุ่ม
= 5-1
3
= 1.33
นำมาแบ่งเกณฑ์การแปลผลคะแนนได้ดังนี้
คะแนนเฉลี่ย การแปลความหมาย
1.00-2.33 กลุ่มตัวอย่างใช้วิธีนั้นในการเผชิญความเครียดในระดับน้อย
2.34-3.67 กลุ่มตัวอย่างใช้วิธีนั้นในการเผชิญความเครียดในระดับปานกลาง
3.68-5.00 กลุ่มตัวอย่างใช้วิธีนั้นในการเผชิญความเครียดในระดับมาก