ReadyPlanet.com
dot dot




ความเครียดจากงาน

 

แบบสอบถามความเครียดจากงาน

แบบสอบถามปัจจัยด้านการทำงาน ผู้วิจัยได้ใช้แบบสอบถาม ชื่อความเครียดจากการทำงาน ซึ่งดัดแปลงจากแบบสอบถามของมนตรี ลิจุติภูมิ (โดยดัดแปลงจากแบบสอบถามความเครียดจากการทำงาน Job Demand-Control Model) ประกอบด้วย 5 หมวด จำนวน 34 ข้อ แต่ละข้อมี 4 คำตอบได้แก่

     หมวดที่ 1 หมวดความสามารถในการควบคุมและตัดสินใจ (Decision latitude) จำนวน 4 ข้อ

     หมวดที่ 2 หมวดความต้องการในงาน (Work demand) จำนวน 7 ข้อ

     หมวดที่ 3 หมวดสิ่งแวดล้อมในที่ทำงาน (Work environment) จำนวน 7 ข้อ

     หมวดที่ 4 หมวดสวัสดิการ (Benefit) จำนวน 5 ข้อ

     หมวดที่ 5 หมวดการพัฒนาทักษะในการทำงาน (Work development) จำนวน 11 ข้อ

      การให้คะแนนของแบบสอบถามนี้ กำหนดเป็นมาตราส่วนประมาณค่า 4 ระดับ(Rating Scale) ดังนี้

                   น้อยที่สุด            ให้       0    คะแนน

                   น้อย                  ให้       1    คะแนน

                   มาก                  ให้        2    คะแนน

                   มากที่สุด            ให้        3    คะแนน  

 ส่วนคำถามเชิงลบ ได้แก่หมวดที่ 3 หมวดสิ่งแวดล้อมในที่ทำงาน (Work environment) จำนวน 7 ข้อ

ให้คะแนนกลับกัน  โดยให้ 3, 2, 1 และ 0 คะแนน     

การแปลผลแบบสอบถามความเครียดจากการทำงานจำแนกเป็นรายหมวด

หมวดคำถาม

คะแนน

ความหมาย

หมวดที่1

หมวดความสามารถในการควบคุมและตัดสินใจ(Decision latitude)

0 - 6

 

7 – 12

-มีความสามารถในการควบคุมและตัดสินใจในงานต่ำ ซึ่งควรได้รับการปรับปรุงแก้ไข

-มีความสามารถในการควบคุมและตันสินใจในงานสูง

หมวดที่2

หมวดความต้องการในงาน

(Work demand)

0 – 10

11 – 21

-มีความต้องการในงานต่ำ ซึ่งควรได้รับการปรับปรุงแก้ไข

-มีความต้องการในงานสูง

หมวดที่3

หมวดสิ่งแวดล้อมในที่ทำงาน

(Work environment)

0 – 10

11 - 21

-พบปัญหาสิ่งแวดล้อมในที่ทำงานต่ำ

-พบปัญหาสิ่งแวดล้อมในที่ทำงานสูง  ซึ่งควรได้รับการปรับปรุงแก้ไข

หมวดที่4

หมวดสวัสดิการ(Benefit)

0 – 7

 

7 - 15

-ได้รับสวัสดิการจากการทำงานต่ำ ซึ่งควรได้รับการปรับปรุงแก้ไข

-ได้รับสวัสดิการจากการทำงานสูง

หมวดที่5

หมวดการพัฒนาทักษะในการทำงาน

(Work development)

0 – 16

 

16 - 33

-มีความต้องการพัฒนาทักษะในการทำงานต่ำ ซึ่งควรได้รับการปรับปรุงแก้ไข

-มีความต้องการพัฒนาทักษะในการทำงานสูง

 

               ผู้วิจัยได้นำแบบทดสอบไปทดสอบค่าความเชื่อมั่น (Reliability) กับอาสาสมัครกู้ชีพร่วมกตัญญูและอาสาสมัครกู้ชีพป่อเต็กตึ้งโดยใช้ Cronbach”s Alpha Coefficient ได้ค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบ 0.8483


 







Copyright © 2011 All Rights Reserved.
Department of Psychiatry, Faculty of Medicine, Chulalongkorn University BANGKOK 10330
Tel: (662) 256-4000-61509