แบบสอบถามเรื่องภาวะซึมเศร้าหลังคลอด Edinburgh Postnatal Depression Scale (EPDS)
โดย Cox และคณะ (1987) แปลเป็นภาษาไทยโดยกมลรัตน์ วัชราภรณ์ (อ้างในอัญชลี ขันทุลา)ประกอบด้วยข้อคำถามทั้งหมด10 ข้อ
เป็นคำถามทางบวก 3 ข้อได้แก่ ข้อที่ 1, 2, 4 เกณฑ์การให้คะแนนเรียงคะแนนคำตอบจาก 0, 1, 2, 3 คะแนน และคำถาม
ทางลบ 7 ข้อได้แก่ ข้อที่ 3, 5, 6, 7, 8, 9, 10 เกณฑ์การให้คะแนนเรียงคะแนนคำตอบจาก 3, 2, 1, 0 รวมคะแนนเต็มเท่ากับ 30 คะแนน จุดตัดของคะแนนที่เหมาะสมกับคนไทย คือได้มากกว่าหรือเท่ากับ 11 คะแนนถือว่ามีภาวะซึมเศร้าหลังคลอด
การวิเคราะห์หาค่าความถูกต้อง (Validity)
ในผู้หญิงที่มารับการตรวจในช่วง 4 – 6 สัปดาห์หลังคลอด ที่โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ จำนวน 150 ราย พบว่าเมื่อเปรียบเทียบแบบสอบถามภาวะซึมเศร้าหลังคลอด EPDS ฉบับภาษาไทยกับการสัมภาษณ์โดยใช้เกณฑ์การวินิจฉัยโรคซึมเศร้าของสมาคมจิตแพทย์อเมริกัน (DSM IV) จุดตัด (cut of point) ที่ 11คะแนนมีความเหมาะสมกับคนไทย พบว่ามีความไว (sensitivity) เท่ากับร้อยละ 100 ความจำเพาะ (specificity) เท่ากับร้อยละ 88 อัญชลี ขันทุลา ได้นำมาทดสอบกับกลุ่มตัวอย่างมารดาหลังคลอดที่บุตรเขา้ รับการรักษาในตึกทารกแรกเกิดวิกฤตจำนวน 30 คน แล้วนำไปหาค่าความเชื่อมั่นด้านความสอดคล้องภายใน ได้ค่าสัมประสิทธิ์ครอนบาชอัลฟ่าเท่ากับ 0.80