ReadyPlanet.com
dot dot




แบบวัดสุขภาวะทางจิต (GWB)

 

 แบบประเมินสุขภาวะทางจิต

          แบบวัดสุขภาวะทางจิต (The General Well-being Schedule: GWB) ใช้ในการสำรวจประชาชนทั่วไปในชุมชน ประกอบด้วยเครื่องชี้วัดอย่างกว้างๆ เกี่ยวกับความรู้สึกที่แสดงถึงการมีสภาวะทางสุขภาพที่ดีทางด้านจิตใจและความเศร้ากังวลใจสร้างโดย Harold J. Dupuy ในปี 1977 มีพื้นฐานมาจากทฤษฎีของ Kurt Lewin ที่เชื่อว่าพฤติกรรมทางจิตเป็นองค์รวมมองแยกทีละส่วนไม่ได้ และพัฒนาแบบวัดมาจาดแนวคิดเกี่ยวกับสุขภาวะทางจิตของ Bradburn ซึ่งแบบวัดนี้มาจากภณิดา ชนวิทยาสิทธิกุล ซึ่งพัฒนาแบบวัดมาจากของสมจิต หนูเจริญกุล, ประคอง อินทรสมบัติ และพรรณวดี พุธวัฒนะ ที่แปลมาจาก Dupuy มาพัฒนาให้เหมาะสมกับกลุ่มตัวอย่าง

          ลักษณะของแบบวัดสุขภาวะทางจิต ประกอบด้วยข้อคำถามทั้งหมด 16 ข้อ แบ่งตามองค์ประกอบด้านต่างๆดังนี้

1.       ด้านความวิตกกังวล ได้แก่ ข้อคำถามข้อที่ 2,5,9

2.       ด้านภาวะซึมเศร้า ได้แก่ ข้อคำถามข้อที่ 4,12,16

3.       ด้านสุขภาวะทางบวก ได้แก่ ข้อคำถามข้อที่ 1,6,11

4.       ด้านการควบคุมตนเอง ได้แก่ ข้อคำถามข้อที่ 3,7,13

5.       ด้านความมีชีวิตชีวา ได้แก่ ข้อคำถามข้อที่ 9,14,15

6.       ด้านสุขภาพทั่วไป ได้แก่ ข้อคำถามข้อที่ 10

          ข้อคำถามด้านบวกมีจำนวน 6 ข้อ ได้แก่ ข้อ 1,3,6,9,11,13 ข้อคำถามด้านลบมีจำนวน 8 ข้อ ได้แก่ 2,4,5,7,8,10,12,14 ข้อคำถามที่เป็นมาตรประมาณค่าเชิงเส้นตรงมีจำนวน 2 ข้อ คือ 15,16

          แบบวัดภาวะสุขภาพจิตเป็นการถามเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา โดยส่วนที่ 1 ประกอบด้วยข้อความ 14 ข้อ เป็นมาตรประเมินค่า 6 ระดับ (6 rating-scale) มีคะแนนตั้งแต่ 0-5 แบ่งเป็นข้อคำถามทางด้านบวก 6 ข้อ ด้านลบ 8 ข้อ มีคะแนนเต็มเท่ากับ 70 คะแนน มีเกณฑ์การให้คะแนนดังนี้      

          มากที่สุด          หมายถึง ท่านเห็นว่าข้อความนั้นตรงกับความรู้สึกและความคิดเห็นของท่านมาก   

                             ที่สุด ข้อความด้านบวก 5 คะแนน ข้อความด้านลบ 0 คะแนน

          มาก               หมายถึง ท่านเห็นว่าข้อความนั้นตรงกับความรู้สึกและความคิดเห็นของท่านมาก

                             ข้อความด้านบวก 4 คะแนน ข้อความด้านลบ 1 คะแนน

          ปานกลาง        หมายถึง ท่านเห็นว่าข้อความนั้นตรงกับความรู้สึกและความคิดเห็นของท่านปาน

                             กลาง ข้อความด้านบวก 3 คะแนน ข้อความด้านลบ 2 คะแนน

          น้อย               หมายถึง ท่านเห็นว่าข้อความนั้นตรงกับความรู้สึกและความคิดเห็นของท่านน้อย

                             ข้อความด้านบวก 2 คะแนน ข้อความด้านลบ 3 คะแนน

          น้อยที่สุด         หมายถึง ท่านเห็นว่าข้อความนั้นตรงกับความรู้สึกและความคิดเห็นของท่านน้อย

                             ที่สุดข้อความด้านบวก 1 คะแนน ข้อความด้านลบ 4 คะแนน

          ไม่เคยเลย         หมายถึง ท่านเห็นว่าข้อความนั้นไม่ตรงกับความรู้สึกและความคิดเห็นของท่านเลย                            ข้อความด้านบวก 0 คะแนน ข้อความด้านลบ 5 คะแนน

          ส่วนที่ 2 ประกอบด้วยมาตรประมาณค่าเชิงเส้นตรง (Linear analog scale) 2 ข้อคำถาม มีค่าคะแนนตั้งแต่ 0-10 คะแนน โดย 0 หมายถึง ไม่เห็นด้วยกับข้อความนั้นเลย 10 หมายถึง เห็นด้วยกับข้อความนั้นมาก เป็นข้อความทางด้านบวก 2 ข้อ มีคะแนนเต็มเท่ากับ 20 คะแนน

          ข้อคำถามในส่วนที่เป็นมาตรประเมินค่า 10 ระดับ อยู่จำนวน 4 ข้อ คะแนนเต็มในส่วนนี้จึงมีคะแนนในฐาน 40 คะแนน คะแนนเต็มของแบบวัด มีพิสัยระหว่าง 0-110 คะแนน ดังนั้นเพื่อนำผลการวิจัยครั้งนี้ไปเปรียบเทียบกับงานวิจัยของ Dupuy และงานวิจัยอื่นๆที่ใช้เกณฑ์การประเมินผลเดียวกัน ผู้วิจัยจึงปรับคะแนนในส่วนของมาตรประเมินค่า 10 ระดับให้เท่ากัน โดยนำคะแนนดิบของข้อคำถามที่เป็นมาตรประเมินค่า 10 ระดับทั้ง 2 ข้อมาคูณ 2 จึงได้คะแนนในฐานดังกล่าว 40 คะแนน เมื่อปรับคะแนนดังกล่าวแล้ว พิสัยของคะแนนจากแบบวัดสุขภาวะทางจิตจึงอยู่ในช่วง 0-110 คะแนนเช่นกัน มีความหมายของคะแนนดังนี้

          73 110        คะแนน           หมายถึง มีสุขภาวะทางจิตในระดับสูง

          61 – 72         คะแนน           หมายถึง มีสุขภาวะทางจิตในระดับปานกลาง

          0 – 60           คะแนน           หมายถึง มีสุขภาวะทางจิตในระดับต่ำ

          การหาค่าความเที่ยง

          นำคะแนนจากแบบวัดสุขภาวะทางจิตมาหาค่าความเที่ยง โดยการประเมินค่าความสอดคล้องภายใน ด้วยการหาค่าสัมประสิทธิ์อัลฟ่าของครอนบาคของแบบวัดภาวะทางจิตทั้งฉบับได้ค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.61 







Copyright © 2011 All Rights Reserved.
Department of Psychiatry, Faculty of Medicine, Chulalongkorn University BANGKOK 10330
Tel: (662) 256-4000-61509