ReadyPlanet.com
dot dot




แบบวัดอาการวิตกกังวลและอาการซึมเศร้าฉบับภาษาไทย Thai Hospital Anxiety and Depression Scale ฉบับภาษาไทย

 

 แบบสอบถามอาการวิตกกังวลและอาการซึมเศร้าฉบับภาษาไทย

Thai  Hospital Anxiety and Depression Scale ฉบับภาษาไทย (Thai HADS) 

ใช้วัดอาการวิตกกังวลและอาการซึมเศร้า  แปลจากฉบับภาษาอังกฤษของ Zigmond และ Snaith โดย ธนา  นิลชัยโกวิทย์ และคณะ  HADS เป็นแบบสอบถามที่ให้ผู้ป่วยตอบด้วยตนเอง  ประกอบด้วยข้อคำถาม 14 ข้อ แบ่งเป็นคำถามสำหรับวัดอาการวิตกกังวล 7 ข้อ ซึ่งเป็นข้อที่เป็นเลขคี่ทั้งหมด และสำหรับอาการวัดซึมเศร้าอีก 7 ข้อ ซึ่งเป็นข้อที่เป็นเลขคู่ทั้งหมด  การให้คะแนนคำตอบแต่ละข้อเป็นแบบ Likert scale มีคะแนนข้อละตั้งแต่ 0-3 คะแนน การคิดคะแนนแยกเป็นส่วนของอาการวิตกกังวลและอาการซึมเศร้ามีพิสัยของคะแนนในแต่ละส่วนได้ตั้งแต่ 0-21 คะแนน โดยแบ่งเป็นช่วงของคะแนนเป็น 3 ระดับดังนี้

 

                0 -  7    คะแนน  ถือว่าไม่มีภาวะวิตกกังวลและภาวะซึมเศร้า

            8 – 10  คะแนน  ถือว่ามีภาวะวิตกกังวลและภาวะซึมเศร้าแต่ยังไม่ถือเป็นความผิดปกติทางจิตเวชที่ชัดเจน (doubtful cases)

               11 – 21  คะแนน ถือว่ามีภาวะวิตกกังวลและภาวะซึมเศร้าที่ถือว่าเป็นความผิดปกติทางจิตเวช (cases)

การคิดคะแนนและแปลผล  ในการศึกษาครั้งนี้จะถือคะแนนรวมตั้งแต่ 8 คะแนนขึ้นไป ว่ามีภาวะวิตกกังวลและภาวะซึมเศร้า

ความเที่ยงตรงและความเชื่อมั่นของเครื่องมือ  ธนา  นิลชัยโกวิทย์ และคณะ  ได้ทำการศึกษาเครื่องมือในผู้ป่วยโรคมะเร็ง 60 รายโดยทดสอบความเที่ยงตรง (validity)  ของเครื่องมือโดยเทียบกับการวินิจฉัยของจิตแพทย์ พบว่า สามารถใช้วัดอาการวิตกกังวลและอาการซึมเศร้าได้ดี มีความไว (sensitivity) เท่ากับร้อยละ 100 และความจำเพาะ (specificity) เท่ากับร้อยละ 86 สำหรับอาการวิตกกังวล และมีความไว (sensitivity) เท่ากับร้อยละ 85.71 และความจำเพาะ (specificity) เท่ากับร้อยละ 91.3 สำหรับอาการซึมเศร้า    สำหรับค่าความเชื่อมั่น (reliability) ของเครื่องมือ พบว่า ความสอดคล้องภายใน (internal consistency) ของทั้ง 2 sub-scale อยู่ในเกณฑ์ที่น่าพอใจ โดยมีค่า Cronbach’s alpha coefficient เท่ากับ 0.86 สำหรับ anxiety sub-scale และ 0.83 สำหรับ depression sub-scale




ข่าวสารหลักสูตร

หลักสูตร วท.ม.สาขาวิชาสุขภาพจิต
ข้อมูลการรับสมัครเข้าศึกษา ระดับปริญญามหาบัณฑิต สาขาสุขภาพจิต
ความประทับใจของศิษย์เก่าที่มีต่อหลักสูตร วท.ม.สาขาสุขภาพจิต
ขั้นตอนการสมัครเข้าศึกษา (ภาคในเวลาราชการ)
ขั้นตอนการสมัครเข้าศึกษา (ภาคบางเวลา)
ประชุมวิชาการครบรอบ 30 ปี หลักสูตร วท.ม. สุขภาพจิต เรื่อง “Mental Health in All Dimensions”
ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์เข้าศึกษาในหลักสูตร วท.ม. สาขาสุขภาพจิต
งานมุทิตาจิต รศ.พญ.ภิรมย์ สุคนธาภิรมย์ ณ พัทลุง
ประกาศรายชื่อผู้สอบผ่านข้อเขียนและมีสิทธิ์เข้ารับการสัมภาษณ์
สถานที่สอบข้อเขียน
ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบข้อเขียน ปีการศึกษา 2561
สำรวจชุมชนเพื่อจัดโครงการส่งเสริมสุขภาพจิต
แบบสอบถามเกี่ยวกับภาระงานและหน้าที่ความรับผิดชอบ
ความฉลาดทางอารมณ์
เครื่องมือประเภท Psychosocial
เครื่องมือประเภท Behavior
เครื่องมือประเภท Neurotic
เครื่องมือประเภท Psycho
ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบสัมภาษณ์ ปีการศึกษา 2559
ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบข้อเขียน ปีการศึกษา 2559



Copyright © 2011 All Rights Reserved.
Department of Psychiatry, Faculty of Medicine, Chulalongkorn University BANGKOK 10330
Tel: (662) 256-4000-61509