แบบสอบถามความรู้สึกที่มีต่อรูปลักษณ์ทางกาย Body Image Scale (BIS)
แบบสอบถามภาพลักษณ์ใช้แบบสอบถาม Body Image Scale (BIS) ของฮอพวู๊ดและคณะ(Hopwood et al) ซึ่งได้รับการแปลเป็นภาษาไทยโดย เบ็ญจรัตน์ ชีวพูนผล โดยผู้แปลได้ศึกษาค้นคว้าวารสารและงานวิจัยเพิ่มเติม ได้ขออนุญาตใช้เครื่องมือนำมาแปลเป็นภาษาไทยและนา ไปให้ผู้เชี่ยวชาญด้านภาษาตรวจสอบ หาความตรงของเครื่องมือจากผู้ทรงคุณวุฒิและหาความเที่ยงได้ค่าสัมประสิทธ์ิแอลฟาของครอนบาคเท่ากับ 0.86 ลักษณะของแบบสอบถามเป็นแบบสอบถามภาพลักษณ์ที่มีข้อคา ถาม10 ข้อ โดยแบบสอบถามของ ฮอพวู๊ดและคณะ ( Hopwood et al)ประกอบด้วย 3 ด้านคือ
1) ด้านอารมณ์ความรู้สึก ซึ่งเป็นความรู้สึกเกี่ยวกับความเป็นผู้หญิง ความรู้สึกมีเสน่ห์ดึงดูดใจ
2) ด้านความคิดการรับรู้ เป็นการรับรู้ที่ผิดปกติผู้ป่ วยไม่สามารถยอมรับการสูญเสียเต้านมเช่นความไม่พึงพอใจในร่างกายและแผลผ่าตัด
3) ด้านพฤติกรรมเกิดจากความทุกข์ทรมานจากการเปลี่ยนแปลงภาพลักษณ์ส่งผลต่อพฤติกรรมที่หลีกเลี่ยงเช่นกลัวที่จะมองกระจกหรือมองแผลผ่าตัดซึ่งเบ็ญจรัตน์ ชีวพูนผลได้นา แบบสอบถามมาวิเคราะห์องค์ประกอบพบว่าเครื่องมือมี 2 องค์ประกอบคือ
ข้อ 1-6 ยกเว้นข้อ 3 เป็นองค์ประกอบความมีเสน่ห์ดึงดูดใจ
ข้อ 8-10 เป็นองค์ประกอบด้านความพึงพอใจโดยข้อ 3และข้อ7 ไม่อยู่ในองค์ประกอบใดการพิจารณานา แบบสอบถามมาใช้ทั้ง 10 ข้อจึงไม่ได้แยกเป็นองค์ประกอบย่อยตามแนวคิดของฮอพวู๊ดและคณะ เนื่องจากข้อ 3และข้อ7 ไม่อยู่ในองค์ประกอบใด และไม่ได้ตัดข้อคา ถามทิ้งแบบสอบถามประกอบด้วยข้อคา ถามทางลบทั้งหมด ใช้มาตราส่วนประมาณค่า 4 ระดับ มีเกณฑ์การให้คะแนนดังนี้
ไม่รู้สึกเลย ให้คะแนน 1
รู้สึกเพียงเล็กน้อย ให้คะแนน 2
รู้สึกบ้าง ให้คะแนน 3
รู้สึกมาก ให้คะแนน 4
การแปลผลคะแนน เนื่องจากต้นฉบับของเครื่องมือใช้การแปลผลคะแนนเป็นคะแนนรวมทั้งฉบับ มีคะแนนตั้งแต่ 10-40 คะแนน คะแนนรวมยิ่งสูงหมายถึงมีความไม่พึงพอใจต่อภาพลักษณ์ยิ่งมากดังนั้นเพื่อให้มีความชัดเจนในการแปลผลคะแนนมากขึ้นผู้แปลจึงได้ใช้เกณฑ์ของชูศรี วงศ์รัตนะ(2544)ดังนี้
อันตรภาคชั้น = พิสัย
จำนวนกลุ่ม
= 4-1
3
= 1
นำมาแบ่งเกณฑ์การแปลผลคะแนนได้ดังนี้
คะแนนเฉลี่ย การแปลความหมาย
1.00-2.00 รู้สึกพึงพอใจกับภาพลักษณ์มาก
2.01-3.00 รู้สึกพึงพอใจกับภาพลักษณ์ปานกลาง
3.01-4.00 รู้สึกพึงพอใจกับภาพลักษณ์น้อย