ReadyPlanet.com
dot dot




ความวิตกกังวลแบบ A-State Scale

 

 

 

แบบวัดความวิตกกังวลแบบ A-State  Scale

แบบวัดความวิตกกังวลแบบ A-State  Scale   ซึ่งสร้างขึ้นโดยสปิลเบอร์เกอร์  (Spielberger) และคณะ แปลเป็นภาษาไทย โดย  มาลาตี  รุ่งเรืองศิริพันธ์

การตรวจสอบคุณภาพของแบบวัด

Lee and Robbins  วิเคราะห์ความเที่ยงโดยวิธีการคำนวณ Cronbach’s Alpha Coefficient นักศึกษามหาวิทยาลัยและบุคคลทั่วไปที่มีอายุ 19-39 ปี ได้ค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาของความวิตกกังวลแบบ A-State ระหว่าง 0.91-0.93

นันทินี  ศุภมงคล  ได้หาค่าความเที่ยงของแบบวัดด้วยการนำคะแนนที่ได้จากนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาตรีจำนวน 155 คน  โดยวิธีประเมินค่าคงที่ภายใน (Internal Consistency)  ด้วยสูตร Cronbach’s Alpha Coefficient ได้ค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาแบบ A-State เท่ากับ 0.90

แบบประเมิน STAI Form Y-1 เป็นแบบประเมินA-State หรือความวิตกกังวลต่อสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในขณะนั้น มีจำนวน 20 ข้อ  ประกอบด้วยข้อความเชิงบวกมี 10 ข้อ(ข้อ1,2,5,8,10,11,15,16,19,20) ให้คะแนน 4,3,2,1คะแนน  ส่วนข้อความเชิงลบมี 10 (ข้อ3,4,6,7,9,12,13,14,17,18)  ให้คะแนน 1,2,3,4 คะแนน

ดังนั้น   คะแนนรวมสูงสุดของแบบวัด คือ 80 คะแนน  คะแนนรวมต่ำสุด คือ 20 คะแนน 

ค่าคะแนนรวมมาก        หมายถึง          ระดับความวิตกกังวลสูง 

ค่าคะแนนรวมน้อย        หมายถึง          ระดับความวิตกกังวลต่ำ

เมื่อนำคะแนนมาจัดระดับความวิตกกังวลแบ่งเป็น 3 ระดับ ได้แก่

20-39 คะแนน เป็นกลุ่มที่มีความวิตกกังวลต่ำ (low anxiety)

40-59 คะแนน เป็นกลุ่มที่มีความวิตกกังวลปานกลาง (moderate anxiety)

60-80 คะแนน เป็นกลุ่มที่มีความวิตกกังวลสูง (high anxiety)







Copyright © 2011 All Rights Reserved.
Department of Psychiatry, Faculty of Medicine, Chulalongkorn University BANGKOK 10330
Tel: (662) 256-4000-61509