ReadyPlanet.com
dot dot




ความวิตกกังวลสปิลเบอร์เกอร์

 

 แบบวัดความวิตกกังวลสปิลเบอร์เกอร์

ในการศึกษาครั้งนี้ ใช้แบบวัดความวิตกกังวลของสปิลเบอร์เกอร์ (Spielberger, 1983)   ชื่อ The State-Trait Anxiety Inventory (STAI Form)30 ได้รับการแปลเป็นภาษาไทยโดยสมโภชน์ เอี่ยมสุภาษิต ธาตรี นนทศักดิ์ และจีน แบรี (2535) โดยนำมาเฉพาะความวิตกกังวลแบบติดตัว (Trait subscale) จำนวน 20 ข้อ

Trait Anxiety, A-trait (STAI Form Y-2) ประกอบด้วยคำถาม จำนวน 20 ข้อ ประกอบด้วย

1. ข้อความที่แสดงถึงความวิตกกังวลในทางบวก 11 ข้อ คือ ข้อ 2, 4, 5, 8, 9, 11, 12, 15, 17, 18 และ 20 ประเมินค่า 4 ระดับ

เกือบไม่มีเลย               กำหนดคะแนน   1

บางครั้ง                    กำหนดคะแนน   2

บ่อยครั้ง                    กำหนดคะแนน   3

เกือบตลอดเวลา           กำหนดคะแนน   4

2. ข้อความที่แสดงถึงความวิตกกังวลในทางลบ 9 ข้อ คือ ข้อ 1, 3, 6, 7, 10, 13, 14, 16 และ 19

เกือบไม่มีเลย               กำหนดคะแนน   4

บางครั้ง                     กำหนดคะแนน   3

บ่อยครั้ง                    กำหนดคะแนน   2

เกือบตลอดเวลา           กำหนดคะแนน   1

คะแนนรวมทั้งหมดมีค่าคะแนนสูงสุด 80 คะแนน ค่าคะแนนต่ำสุด 20 คะแนน แบ่งระดับความวิตกกังวล ดังนี้

ช่วงคะแนน 20 - 40 คะแนน แสดงว่า ไม่มีวิตกกังวลระดับเล็กน้อย

ช่วงคะแนน 41 - 60 คะแนน แสดงว่า มีความวิตกกังวลบ้าง

ช่วงคะแนน 61 - 70 คะแนน แสดงว่า มีความวิตกกังวลค่อนข้างมาก

ช่วงคะแนน 71 - 80 คะแนน แสดงว่า มีความวิตกกังวลมากที่สุด

Trait Anxiety, A-trait (STAI Form Y-2) มีค่าความเชื่อถือ ได้และความแม่นตรงอยู่ในเกณฑ์ดีได้แก่ ความสอดคล้องภายใน (Internal consistency) ของข้อคำถามมีค่า Cronbach’s alpha coefficient ตั้งแต่ 0.86 ถึง 0.92 และจากการทำ Test-Retest เพื่อตรวจสอบ Reliability ได้ค่า 0.73-0.92







Copyright © 2011 All Rights Reserved.
Department of Psychiatry, Faculty of Medicine, Chulalongkorn University BANGKOK 10330
Tel: (662) 256-4000-61509