ReadyPlanet.com
dot dot




โรคในกลุ่มพัฒนาการผิดปกติอย่างรอบด้าน สำหรับเด็กอายุ 1-18 ปี

 

แบบคัดกรองโรคในกลุ่มพัฒนาการผิดปกติอย่างรอบด้าน สำหรับเด็กอายุ 1-18 ปี
Pervasive Developmental Disorder Screening Questionnaire (PDDSQ)


บทนำ

                  แนวคิดในการแบ่งการวินิจฉัยเด็กที่มีความผิดปกติของPDD ออกเป็นโรคต่างๆ 5 โรค เช่น โรคออติสติก (autistic disorder) โรคเร็ทท์ (rett’s syndrome) ความผิดปกติในพัฒนาการในวัยเด็ก (chilhoud disintegrative disorder) โรคเอสเปอร์เกอร์ (asperger’s syndrome) และความผิดปกติของพัฒนาการที่ไม่ทราบสาเหตุ (PDD, NOS) เริ่มเกิดขึ้นในประเทศไทย ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา และยังไม่ได้มีการใช้กันอย่างแพร่หลาย คณะผู้วิจัยโรงพยาบาลยุวประสาทไวทโยปถัมภ์ ได้สร้างและพัฒนาแบบคัดกรอง PDDSQขึ้นในปี พ.ศ. 2544

                  แบบคัดกรองนี้สร้างขึ้นเพื่อค้นหาเด็กที่มีความผิดปกติทางพัฒนาการในกลุ่มโรค PDDS อายุ 1-18 ปี โดยผู้ปกครองหรือผู้ใกล้ชิดเด็กเป็นผู้ประเมิน

                 แบบคัดกรอง PDDS พัฒนาจากแบบคัดกรองโรคออทิสซึม และโรคอื่นๆ ในกลุ่ม PDD ได้แก่ แบบคัดกรอง CHAT, CARS, ASQ, ASSQ, PDDST และ SRS

                 แบบคัดกรองแบ่งเป็น 2 ช่วงอายุ ดังนี้ PDDSQ 1-4 ปี ใช้คัดกรองเด็กอายุ 12-47 เดือน และ PDDSQ 4-18 ปี แต่ละฉบับประกอบด้วยข้อคัดกรอง 40 ข้อ ซึ่งข้อคำถามเหล่านี้ชี้วัดความผิดปกติ 3 ด้าน คือ พัฒนาการทางสังคมผิดปกติพัฒนาการด้านสื่อความหมายผิดปกติ และพฤติกรรมซ้ำซาก สนใจจำกัด และปรับตัวยาก เป็นสิ่งสำคัญในการวินิจฉัย

คุณสมบัติของเครื่องมือ อายุ จุดตัดคะแนน ความไว% ความจำเพาะ% การทำนาย ความเชื่อถือได้ ความคงที่ภายใน + - 1-4 ปี(12 เดือน-47 เดือน) 13 82 94 96 77 .91 .95 4-18 ปี 18 82 88 93 73 .88 .91
วิธีการนำไปใช้

1. เป็นแบบคัดกรองที่ผู้ตอบสามารถอ่าน และตอบด้วยตนเอง โดยเลือกคำตอบที่ใกล้เคียงพฤติกรรมของเด็กมากที่สุด

2. คำตอบมี 2 ตัวเลือก คือ ใช่/ทำบ่อยๆ และ ไม่ใช่/ไม่ค่อยทำ

3. การให้คำแนะนำ: ให้ 1 คะแนน สำหรับคำตอบว่า ใช่/ทำบ่อยๆ ให้ 0 คะแนน สำหรับคำตอบว่า ไม่ใช่/ไม่ค่อยทำ

4. PDDSQ 1-4 ข้อ 1-5, 11-15, 21-25, 31-35 และ PDDSQ 4-18 ปี ข้อ 1 , 3, 4, 10, 14, 15, 20, 30, 33, 36 ต้องกลับค่าคะแนนดังนี้ ให้ 0 คะแนน สำหรับคำตอบว่า ใช่/ทำบ่อยๆ ให้ 1 คะแนน สำหรับคำตอบว่า ไม่ใช่/ไม่ค่อยทำ

                     5. คะแนนเต็มทั้งฉบับ 40 คะแนน

การแปลผล

PPDSQ 1-4 ปี ถ้าได้ 13 คะแนนขึ้นไป ถือว่า เสี่ยงที่จะเป็น PDDs.

PPDSQ 4-18 ปี ถ้าได้ 18 คะแนนขึ้นไป ถือว่า เสี่ยงที่จะเป็น PDDs.

การนำไปใช้ประโยชน์

1. ใช้คัดกรองเบื้องต้นในเด็กที่สงสัยจะเป็น PDDs เพื่อส่งต่อในการวินิจฉัย และให้การช่วยเหลือต่อไป

2. ใช้ในการหาระบาดวิทยา

ข้อจำกัด

2. ผู้ป่วยเกือบทุกรายในกลุ่ม PDDs. ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคออทิสซึม ผลกวิจัยอาจใช้ได้ดีเฉพาะการคัดกรองเด็กปกติออกจากเก็กที่ป่วยเป็นโรคออทิสซึม

สิ่งสำคัญที่สุดที่ผู้วิจัยต้องการเน้นได้แก่ ความเข้าใจที่ว่าแบบคัดกรอง PDDSQ 1-4 ปี และ PDDSQ 4-18 ปี เป็นเพียงแบบคัดกรองโรคออทิสติก และโรคอื่นๆ ในกลุ่ม PDD เท่านั้น ไม่ใช่เครื่องมือที่จะนำมาใช้วินิจฉัย

การให้คะแนนการให้คะแนนและการแปลผลแบบคัดกรองโรคในกลุ่มพัฒนาการผิดปกติอย่างรอบด้านสำหรับเด็กอายุ 1-4 ปี (12-47 เดือน)
การให้คะแนน แบ่งเป็น 2 กลุ่ม ดังนี้
กลุ่มที่ 1 ได้แก่ข้อ

 ข้อ

6

7

8

9

10

16

17

18

19

20

26

27

28

29

30

36

37

38

39

40

แต่ละข้อให้คะแนน ดังนี้ ใช่ / ทำบ่อย ๆ ให้ 1 คะแนน ไม่ใช่ / ไม่ค่อยทำ ให้ 0 คะแนน

กลุ่มที่ 2 ได้แก่ข้อ

 ข้อ

1

2

3

4

5

11

12

13

14

15

21

22

23

24

25

31

32

33

34

35

แต่ละข้อให้คะแนน ดังนี้ ใช่ / ทำบ่อย ๆ ให้ 0 คะแนน ไม่ใช่ / ไม่ค่อยทำ ให้ 1 คะแนน

การแปลผล

         เมื่อรวมคะแนนทุกข้อแล้ว นำมาเปรียบเทียบกับเกณฑ์ปกติที่กำหนด ดังนี้ 13 คะแนนขึ้นไป ถือว่า เสี่ยงที่จะเป็น PDDs. (โรคออติสติก โรคเร็ทท์ ความผิดปกติในพัฒนาการในวัยเด็ก โรคเอสเปอร์กอร์ และความผิดปกติในพัฒนาการที่ไม่ทราบสาเหตุ)

 

 

             การให้คะแนนการให้คะแนนและการแปลผลแบบคัดกรองโรคในกลุ่มพัฒนาการผิดปกติอย่างรอบด้านสำหรับเด็กอายุ 4-18 ปี
การให้คะแนน แบ่งเป็น 2 กลุ่ม ดังนี้
กลุ่มที่ 1 ได้แก่ข้อ

 ข้อ

2

5

6

7

8

9

11

12

13

16

17

18

19

20

21

22

23

24

25

26

27

28

31

32

34

35

37

38

39

40


แต่ละข้อให้คะแนน ดังนี้
ใช่ / ทำบ่อย ๆ ให้                     1 คะแนน
ไม่ใช่ / ไม่ค่อยทำ ให้                  0 คะแนน
กลุ่มที่ 2 ได้แก่ข้อ

 ข้อ

1

3

4

10

14

15

29

30

33

36

 

แต่ละข้อให้คะแนน ดังนี้
ใช่ / ทำบ่อย ๆ ให้                  1 คะแนน
ไม่ใช่ / ไม่ค่อยทำ ให้                  0 คะแนน
การแปลผล

เมื่อรวมคะแนนทุกข้อแล้ว นำมาเปรียบเทียบกับเกณฑ์ปกติที่กำหนด ดังนี้ 18 คะแนนขึ้นไป ถือว่า เสี่ยงที่จะเป็น PDDs. (โรคออติสติก โรคเร็ทท์ ความผิดปกติในพัฒนาการในวัยเด็ก โรคเอสเปอร์กอร์ และความผิดปกติในพัฒนาการที่ไม่ทราบสาเหตุ)
เอกสารอ้างอิง

อำไพ ทองเงิน และคณะ รายงานการวิจัยเรื่อง การพัฒนาแบบคัดกรองโรคในกลุ่มพัฒนาการผิดปกติอย่างรอบคอบ สำหรับเด็กอายุ 1- 18 ปี โรงพยาบาลยุวประสาทไวทโยปถัมภ์ (อัดสำเนา) 2544.
การเผยแพร่

อำไพ ทองเงิน และคณะ รายงานการวิจัยเรื่อง การพัฒนาแบบคัดกรองโรคในกลุ่มพัฒนาการผิดปกติอย่างรอบคอบ สำหรับเด็กอายุ 1- 18 ปี โรงพยาบาลยุวประสาทไวทโยปถัมภ์ (อัดสำเนา) 2544.
บุคคลที่สะดวกในการติดต่อประสานงานในการศึกษาเรื่องนี้

อำไพ ทองเงิน นักจิตวิทยา 7

โรงพยาบาลยุวประสาทไวทโยปถัมภ์

61 ซอยเทศบาล 19 ตำบลปากน้ำ อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ 10270

โทรศัพท์ 0-2384-3381-3 โทรสาร 0-2394-1845







Copyright © 2011 All Rights Reserved.
Department of Psychiatry, Faculty of Medicine, Chulalongkorn University BANGKOK 10330
Tel: (662) 256-4000-61509