แบบประเมินความเครียดด้วยตนเอง
เป็นแบบประเมินวิเคราะห์ความเครียดด้วยตนเอง ของกรมสุขภาพจิตกระทรวงสาธารณะสุข18 ใช้ประเมินความเครียด จากอาการพฤติกรรมหรือความรู้สึก จำนวน 20 ข้อโดยกำหนดเกณฑ์การให้คะแนนดังนี้
เป็นประจำ คะแนน 3
เป็นบ่อยๆ คะแนน 2
เป็นครั้งคราว คะแนน 1
ไม่เคยเลย คะแนน 0
ผลการประเมินความเครียด จากการรวมคะแนน 20 ข้อ คะแนนที่ได้จะอยู่ระหว่าง 0 – 60 คะแนน 0 - 5 คะแนนแสดงว่า ตอบคำถามไม่ตรงความเป็นจริง/ เข้าใจคำสั่งคลาดเคลื่อน/ขาดแรงจูงใจในการดำเนินชีวิต มีความเฉื่อยชา
6 - 17 คะแนน แสดงว่า ปกติ/ไม่เครียด
18 – 25 คะแนน แสดงว่าเครียดสูงกว่าปกติ/มีความเครียดเล็กน้อย
26 - 29 คะแนน แสดงว่าเครียดปานกลาง
มากกว่า 30 คะแนน แสดงว่าเครียดมาก
เป็นแบบสอบถามปัจจัยที่ก่อให้เกิดความเครียดจากการทำงาน 19โดยคำถามจะครอบคลุมประเด็นที่เกี่ยวข้องกับปัจจัยการทำงานซึ้งประกอบด้วย
1. ลักษณะงาน จำนวน 9 ข้อ
2. นโยบายแลการบริหารงาน จำนวน 7 ข้อ
3. สัมพันธภาพในการทำงาน จำนวน 10 ข้อ
4. สภาพแวดล้อมในสถานที่ทำงาน จำนวน 10 ข้อ
5. ค่าตอบแทน สวัสดิการ ความก้าวหน้าในการปฏิบัติงาน จำนวน 10 ข้อ
ลักษณะข้อคำถามจะมีทั้งลักษณะในเชิงบวกและเชิงลบ ซึ้งแต่ละข้อคำถามมีคำตอบให้เลือก 5 ระดับคือ ไม่เห็นด้วย เห็นด้วยน้อย เห็นด้วยปานกลาง เห็นด้วยมาก เห็นด้วยมากที่สุด โดยกำหนดเกณฑ์การให้คะแนนแต่ละลำดับดั้งนี้
ระดับความคิดเห็น ข้อความเชิงบวก ข้อความเชิงลบ
ไม่เห็นด้วย 1 5
เห็นด้วยน้อย 2 4
เห็นด้วยปานกลาง 3 3
เห็นด้วยมาก 4 2
เห็นด้วยมากที่สุด 5 1
เมื่อรวบรวมคะแนนและแจกแจ้งความถี่แล้ว จะใช้คะแนนเฉลี่ยกลุ่มตัวอย่างที่ได้มาพิจารณาระดับ
ความคิดเห็น ซึ่งมีเกณฑ์ในการพิจารณาดั้งนี้
คะแนนสูงสุด – คะแนนต่ำสุด = 5 – 1 = 1.33
จำนวนชั้น 3
จากเกณฑ์ดั้งกล่าวสามารถแบ่งความหมายของระดับคะแนนได้ดั้งนี้
คะแนนเฉลี่ย 1.00 - 2.33 หมายถึงระดับความคิดเห็นต่ำ
คะแนนเฉลี่ย 2.34 - 3.66 หมายถึงระดับความคิดเห็นปานกลาง
คะแนนเฉลี่ย 3.67 - 5.00 หมายถึงระดับความคิดเห็นสูง
สำหรับคำถามเชิงลบได้แก่ ด้านลักษณะงาน คือ ข้อ 4 , 5 ด้านนโยบายและการบริหารงาน คือ ข้อ 7 ด้านสัมพันธภาพในการทำงานคือ ข้อ 8 ด้านค่าตอบแทนสวัสดิ์การคือ ข้อ 10 นอกจากนั้นเป็นคำถามเชิงบวกทั้งหมดคำถามเกี่ยวกับปัจจัยการทำงานจะมีค่าสัมประสิทธิ์อัลฟ่า เท่ากับ .9176