แบบสอบถามเกี่ยวกับการปรับตัวของมารดาที่ดูแลเด็กออทิสติก
จากงานวิจัยของประพา หมายสุข ได้นำหลักแนวคิดเกี่ยวกับการปรับตัวด้านบทบาทหน้าที่ของRoy & Andrew, 1994 มาใช้ร่วมกับงานและความรับผิดชอบต่อบทบาทการเป็นมารดาของ Bobak & Jensen, 1993 มีข้อคำถามจำนวน 39 ข้อ แบ่งเป็น 2 ตอนที่ 1 ด้านการยอมรับต่อสภาพบุตร ตอนที่ 2 ด้านความสามารถในการเลี้ยงดูบุตร ด้านการมีปฏิสัมพันธ์กับบุตร ด้านการเตรียมสมาชิกในครอบครัว ด้านการรับผิดชอบต่ออนาคตของบุตร โดยมารดาเด็กออทิสติกเป็นผู้ตอบใช้เวลาประมาณ 10 นาที แบบสอบถามเกี่ยวกับการปรับตัวของมารดาเด็กออทิสติกมีค่าความเชื่อมั่น = 0.94เครื่องมือใช้วัดกับมารดาเด็กออทิสติกที่ดูแลเด็กออทิสติกอายุ 3-6 ปี เป็นมาตราส่วนประเมินค่า Rating Scale 5 ระดับ โดยข้อคำถามมีทั้งด้านบวกและลบ และข้อคำถามจะครอบคลุมการปรับตัวของมารดาที่ดูแลเด็กออทิสติกทั้ง 5 องค์ประกอบ ดังนี้
1. การยอมรับต่อสภาพบุตร ข้อ1,2,3,4,5,6
2. ความสามารถในการเลี้ยงดูบุตร ข้อ7,8,9,10,11,12,13,14
3. การมีปฏิสัมพันธ์กับบุตร ข้อ 15,16,17,18,19,20,21,22,23
4. การเตรียมสมาชิกในครอบครัว ข้อ 24,25,36,27,28,29,30,31
5. การรับผิดชอบต่ออนาคตของบุตร ข้อ 32,33,34,35,36,37,38,39
เกณฑ์การให้คะแนนการปรับตัวของมารดา เป็นรายข้อมีดังนี้
ตอนที่ 1 มีจำนวน 6 ข้อ
คำตอบ คะแนนข้อความทางบวก
เห็นด้วยอย่างมาก 5
เห็นด้วย 4
ไม่เห็นด้วยและเห็นด้วยพอๆกัน 3
ไม่เห็นด้วย 2
ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง 1
ตอนที่ 2มีจำนวน 33 ข้อ
คำตอบ คะแนนข้อความทางบวก
ทำเป็นประจำ 5
ทำบ่อยมาก 4
ทำบ่อย 3
ทำบ้าง 2
ไม่ทำเลย 1
เกณฑ์การให้คะแนนในตอนที่ 1 จากคำถามข้อ 1 ถึงข้อ 3 ให้คะแนนตามลำดับปกติ ส่วนในคำถามข้อที่ 4 ถึงข้อที่ 6 ให้ปรับค่าคะแนนในทางกลับกันกับข้อที่กล่าวข้างต้น และตอนที่ 2 จากคำถามข้อ 1 ถึงข้อ 33 ให้คะแนนตามปกติ จากนั้นจึงนำคะแนนในแต่ละด้านมารวมคะแนน
การแปลความหมายของคะแนน
จากงานวิจัยของประพา หมายสุข ได้กำหนดให้ใช้คะแนนรวมทั้งฉบับ และคะแนนรายด้านแต่ละด้าน ได้แก่ด้านการยอมรับบุตร ด้านความสามารถในการเลี้ยงดูบุตร ด้านการมีปฏิสัมพันธ์กับบุตร ด้านการเตรียมสมาชิกในครอบครัว และด้านการรับผิดชอบต่ออนาคตของบุตร คำนวณเป็นค่าเฉลี่ยรวมแต่ละด้านและค่าเฉลี่ยรวมของแบบสอบถามทั้งฉบับ