ReadyPlanet.com
dot dot




การปรับตัวในมหาวิทยาลัยBaker RW และ Siryk B

 

แบบสอบถามการปรับตัวบทบาทการเป็นมารดา Jensen และ Bobak

แบบสอบถามการปรับตัวด้านบทบาทหน้าที่ของมารดาในระยะหลังคลอด ซึ่งนา มาจากเป็นแบบสอบถาม ของ ดวงตา ภัทโรพงศ์ โดยอาศัยแนวคิดของ Jensen และ Bobak ลักษณะแบบสอบถามเป็นข้อคา ถามเกี่ยวกับการกระทำ หรือการแสดงความรู้สึกของมารดาในระยะหลังคลอดในการปฏิบัติบทบาทมารดา ประกอบด้วยคำถาม 18 ข้อ ได้แก่ การมีสัมพันธภาพกับบุตร 8 ข้อ และการปฏิบัติกิจกรรมการดูแลบุตร 10 ข้อ ค่าความเชื่อมั่น 0.91 ลักษณะแบบสอบถามเป็นแบบลิเกิร์ต ( Likert’ s Scale) 5 ระดับ ตั้งแต่ 1 (ไม่เป็นความจริงเลย ) ถึง 5 (เป็นความจริงมากที่สุด ) คะแนนรวมจากแบบสอบถามทั้งชุด มีคะแนนรวมต่ำสุด 18คะแนน สูงสุด 90 คะแนน คะแนนรวมสูงแสดงว่ามารดาปรับตัวด้านบทบาทหน้าที่ได้ดี ใช้เกณฑ์ การแบ่งระดับคะแนนของสุวิมล ติรกานันท์ (2546) โดยการกาหนดจำนวนกลุ่มของการแบ่งระดับคะแนน เป็น 5 กลุ่ม และหาอันตรภาคชั้นเพื่อใช้ในการแบ่งระดับคะแนน ของ การปรับตัวด้านบทบาทหน้าที่ของมารดา ได้คะแนนและการแปลผลดังนี้

คะแนน                                      การแปลผลคะแนน

75-90            หมายถึง          มารดามีการปรับตัวด้านบทบาทหน้าที่ในระดับดีมาก

61-74            หมายถึง          มารดามีการปรับตัวด้านบทบาทหน้าที่ในระดับดี

47-60            หมายถึง          มารดามีการปรับตัวด้านบทบาทหน้าที่ ในระดับปานกลาง

33-46            หมายถึง          มารดามีการปรับตัวด้านบทบาทหน้าที่ ในระดับน้อย

18-32            หมายถึง          มารดามีการปรับตัวด้านบทบาทหน้าที่ในระดับน้อยมาก







Copyright © 2011 All Rights Reserved.
Department of Psychiatry, Faculty of Medicine, Chulalongkorn University BANGKOK 10330
Tel: (662) 256-4000-61509