แบบสอบถามพฤติกรรมการจัดการความเครียด
นำมาจากแบบสอบถามพฤติกรรมการจัดการความเครียดของ รอฮานิ เจะอาแซและคณะ ซึ่งสร้างขึ้นจากกรอบแนวคิดการจัดการความเครียดของเพนเดอร์และคณะ นำมาใช้ในประชาชนสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ประสบกับเหตุความไม่สงบ หาค่าความเชื่อมั่นของเครื่องมือโดยวิธีการหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาค ได้ค่าเท่ากับ 0.88 โดยแบบสอบถามมีข้อคำถาม 31 ข้อ ประกอบด้วยพฤติกรรมการจัดการความเครียด 3 ด้าน คือ
1. ด้านการลดความถี่ของเหตุการณ์ที่ก่อให้เกิดความเครียด จำนวน 6 ข้อ ได้แก่ ข้อ 1, 2, 3, 4, 5, 16
2. ด้านการเพิ่มความต้านทานต่อความเครียด จำนวน 18 ข้อ ได้แก่ ข้อ 6, 7, 8, 9, 10, 11, 12, 13, 14, 15, 17, 18, 19, 20, 21, 25, 26, 27
3. ด้านการสร้างเงื่อนไขเพื่อลดอาการที่เกิดจากการตอบสนองต่อความเครียด จำนวน 7 ข้อ ได้แก่ ข้อ 22, 23, 24, 28, 29, 30, 31
โดยการให้คะแนนข้อคำถามด้านบวก ได้แก่ข้อ 1, 2, 3, 4, 6, 7, 8, 9,11, 12, 13, 14, 15, 16, 17, 18, 20, 21, 22, 23, 26, 27, 28, 29, 30, 31 มีเกณฑ์การให้คะแนนดังนี้ ปฏิบัติมากที่สุด ( 3 คะแนน) ปฏิบัติมาก ( 2 คะแนน) ปฏิบัติน้อย ( 1 คะแนน) ไม่เคยปฏิบัติ ( 0 คะแนน)
การให้คะแนนข้อคำถามด้านลบ ได้แก่ ข้อ 5, 9, 10, 19, 24, 25 ซึ่งมีเกณฑ์การให้คะแนนดังนี้ ปฏิบัติมากที่สุด ( 0 คะแนน) ปฏิบัติมาก ( 1 คะแนน) ปฏิบัติน้อย ( 2 คะแนน) ไม่เคยปฏิบัติ ( 3 คะแนน)
เมื่อได้คะแนนครบทุกข้อ นำคะแนนแต่ละข้อมารวมกัน แล้วหาค่าเฉลี่ย ใช้หลักการแปลผลค่าเฉลี่ย ในการให้ความหมายคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการจัดการความเครียดของรอฮานิ เจะอาแซและคณะ ซึ่งสามารถแบ่งพฤติกรรมการจัดการความเครียดแบ่งได้ 3 ระดับ ดังนี้
คะแนนเฉลี่ยระหว่าง 0.00 – 1.00 หมายถึง กลุ่มตัวอย่างมีพฤติกรรมการจัดการความเครียดอยู่ในระดับต่ำ
คะแนนเฉลี่ยระหว่าง 1.01 - 2.00 หมายถึง กลุ่มตัวอย่างมีพฤติกรรมการจัดการความเครียดอยู่ในระดับปานกลาง
คะแนนเฉลี่ยระหว่าง 2.01 - 3.00 หมายถึง กลุ่มตัวอย่างมีพฤติกรรมการจัดการความเครียดอยู่ในระดับสูง