ReadyPlanet.com
dot dot




พฤติกรรมเด็ก SDQ

 

แบบประเมินพฤติกรรมเด็ก The Strengths and Difficulties Questionnaire: SDQ

          แบบประเมินพฤติกรรมเด็ก The Strength and Diffculties Questionnaire (SDQ) ฉบับผู้ปกครองซึ่งสร้างโดย Robert Goodmanจิตแพทย์ชาวอังกฤษมกีารศึกษาแบบประเมินพฤติกรรมSDQ จากผลการศึกษาวิจัยประชากรในชุมชนประเทศ อังกฤษ สํารวจเด็กอายุ 5-15 ปี จํานวน 7,984 คน โดย Robert Goodman และคณะ(2000) อ้างจาก ประเทิน มหาขันธ์ (2520)ใช้แบบสอบถาม SDQ ทั้ง 3 ชุด พบว่ามี Sensitivity 63.3% (95% Cl 59.7-66.8%) Specifcity 94.6% (94.1-95.1%) Positive Predictive Value 52.7% และ Negative Predictive Value 96.4% (96.0 96.8%) ประกอบด้วยข้อคําถาม 25 ข้อ มีทั้ง ข้อคําถามเชงิ บวก และข้อความที่เป็นปัญหา โดยแบ่งพฤติกรรมออกเป็น 5 ด้าน คือ ด้านพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ (Conduct Problems), พฤติกรรมอยู่ไม่นิ่ง (Hyperactivity), มีปัญหาทางอารมณ์ (Emotional Problem), พฤติกรรมสัมพันธภาพทางสังคม (Prosocial Behavior) ซึ่งแสดงถึงด้านดีของเด็ก

          แบบประเมินพฤติกรรมในเด็ก SDQ นี้ ประกอบด้วยแบบสอบถาม 3 ชุด คือ แบบสอบถามสําหรบั ผู้ปกครอง, ครู และ นักเรียน ทั้ง 3 ฉบับได้รับการแปลเป็นภาษาไทย และนํามาใช้ศึกษาในชุมชน โดย พรรณพมิล หล่อตระกูล และมาโนช หล่อตระกูลโดยได้ทดสอบความเที่ยง (Reliability) ของแบบสอบถามความสอดคล้องภายในเนื้อหา (Internal Consistency) และความเท่าเทียมในการวดั (Equivalent)รวมทั้งได้กําหนดค่าจุดตัด(CutoffPoint)ที่เหมาะในการสืบค้นปัญหาแต่ละด้านของ แบบประเมินในแต่ละชุด ซึ่งในงานวิจัยนี้ใช้เฉพาะชุดสําหรับผู้ปกครอง(ประเมินโดยเจ้าหน้าที่ผู้ดูแลเด็กที่ดูแลเป็นระยะเวลา 1 ปี ขึ้นไป) ซึ่งได้นําไปหาค่าความเชื่อมั่น ในเด็กมัธยมต้นโรงเรียนบ้านคูเมือง โดยวิธี Cronbachs alpha coeffcient ได้ 0.72 และ นอกจากนี้ สมชาติ สุทธิกาญจน์ ได้นําแบบประเมิน SDQ นี้ไปทําการศึกษาเปรียบเทียบกับแบบประเมินพฤติกรรม Child Behavior Check List (CBCL) ซึ่งจัดเป็นตัววัดมาตรฐาน (Gold Standard) พบว่า มีความสอดคล้องกันอยู่ในเกณฑ์ดี และพบว่า SDQ ดีกวา่ CBCL อย่างมีนัยสําคัญทางสถติ ิในการวัดปัญหาสมาธิสั้น ส่วนการวดั ปัญหาทางอารมณ์ไดด้ ีเท่าๆกัน และ SDG แม้ จะสั้นกว่าแต่ดีกว่าในการทํานาย Clinical Diagnosis ของ Hyperactivity Disorder

วิธีใช้ ประกอบด้วย 2 หน้า หน้าแรกเป็นลักษณะพฤติกรรมจํานวน 25 ข้อซึ่งมีลักษณะของพฤติกรรมด้านบวกและด้าน ลบ ซึ่งสามารถจัดกลุ่มเป็นกลุ่มพฤติกรรม 5 กลุ่ม ได้แก่

          กลุ่มพฤติกรรมด้านอารมณ์            (5 ข้อ)ได้แก่ข้อ        3,8,13,16,24

          กลุ่มพฤติกรรมอยู่ไม่นิ่ง                (5 ข้อ)ได้แก่ข้อ        5,7,12,18,22

          กลุ่มพฤติกรรมไม่พึงประสงค์        (5 ข้อ)ได้แก่ข้อ        2,10,15,21,25

 

          กลุ่มพฤติกรรมด้านความสัมพันธ์กับเพื่อน           (5 ข้อ)ได้แก่ข้อ        6,11,14,19,23

          กลุ่มพฤติกรรมด้านสัมพันธภาพทางสังคม           (5 ข้อ)ได้แก่ข้อ        1,4,9,17,20

กลุ่ม 1-4 รวมกนั เป็น 20 ข้อ เป็นคะแนนรวมที่แสดงถึงปัญหาพฤติกรรมในเด็ก (total diffculties score)

                ส่วนในกลุ่มที่ 5 เป็นจุดแข็งของเด็ก (strength score) หน้าที่ 2 ในด้านนหลัง ของแบบประเมิน เป็นการประเมิน ผลกระทบของพฤติกรรมว่า มีความเรื้อรังส่งผลกระทบต่อ บุคคลรอบข้างตัวเด็กเอง มผี ลต่อสัมพันธภาพทางสังคม ชีวิตประจําวันของเด็กมากน้อยอย่างไร มีอยู่ 5 ข้อ ที่ข้อความตรงข้ามและให้คะแนนกลับกับขอ้ อื่น คะแนนแต่ละด้านจะอยู่ ระหว่าง 0-10คะแนนคะแนนรวม0-40คะแนน(รวม4ด้านยกเว้นด้านสัมพันธภาพทางสังคม)

การให้คะแนนแต่ละขั้นดังนี้

ข้อ 1, 2, 3, 4, 5, 6, 8, 9, 10, 12, 13, 15, 16, 17, 18, 19, 20, 22, 23, 24  

 

 

 

 

 

 







Copyright © 2011 All Rights Reserved.
Department of Psychiatry, Faculty of Medicine, Chulalongkorn University BANGKOK 10330
Tel: (662) 256-4000-61509