ReadyPlanet.com
dot dot




สัมพันธภาพในครอบครัวของผู้ปกครองในการดูแลเด็กที่เป็นโรคไตเรื้อรัง

 

 แบบวัดสัมพันธภาพในครอบครัวของผู้ปกครองในการดูแลเด็กที่เป็นโรคไตเรื้อรัง

ได้รับอนุญาตจากสานักงานกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ร่วมกับสถาบันพัฒนาการสาธารณสุขอาเซียน มหาวิทยาลัยมหิดล โดยจิราพร ชมพิกุล ประกอบด้วย 4 ประเด็น ได้แก่ ประเด็นที่ 1 การใช้เวลาในการทากิจกรรมร่วมกันของสมาชิกในครอบครัว ทั้งกิจกรรมในบ้านและนอกบ้าน มี 8 ข้อคาถาม ประเด็นที่ 2 การพูดคุยปรึกษาหารือและตัดสินใจในเรื่องการเจ็บป่วยของเด็กโรคไตเรื้อรังและเรื่องสาคัญต่างๆของครอบครัว มี 18 ข้อคาถาม ประเด็นที่ 3 การแสดงออก ซึ่งความรัก ความเอื้ออาทรต่อกัน ทั้งทางกาย วาจา ใจ ของสมาชิกในครอบครัวต่อเด็กที่ป่วยด้วยโรคไตเรื้อรัง มี 6 ข้อคำถามประเด็นที่ 4 การปฏิบัติตามบทบาทหน้าที่ที่เหมาะสมของสมาชิกในครอบครัว ในยามที่มีเด็กป่วยด้วยโรคไตเรื้อรัง มี 10 ข้อคำถาม และความคิดเห็นที่มีต่อสัมพันธภาพในครอบครัว มี 3 ข้อคำถาม

การแปลผล สัมพันธภาพในครอบครัวมี 3 ระดับคือ ไม่ได้ปฏิบัติ = 1 บางครั้ง = 2 และประจำ = 3

ส่วนข้อคาถามเชิงลบให้คะแนนกลับกันคือ ไม่ได้ปฏิบัติ = 3 บางครั้ง = 2 และ ประจำ = 1 นำคะแนนมา

รวมกันและแบ่งกลุ่มแบ่งออกเป็น 3 ระดับคือ สัมพันธภาพไม่ดี คะแนนต่ากว่า P25 สัมพันธภาพปานกลาง คะแนนอยู่ระหว่าง P25- P75 และสัมพันธภาพดี คะแนนสูงกว่า P75

การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ การหาความเที่ยงตรง (Validity) เชิงโครงสร้างและเนื้อหา โดยคณะวิจัยของโครงการสัมพันธภาพในครอบครัวไทยนำแบบสอบถามไปทดสอบกับตัวอย่างในพื้นที่ทั้งในเขตและนอกเขตเทศบาลของจังหวัดนครปฐม จานวนทั้งสิ้น 53 ชุด เพื่อประเมินถึงความเข้าใจในแบบสอบถาม เสนอต่อผู้ทรงคุณวุฒิด้านครอบครัวคือศาสตราจารย์แพทย์หญิงศิริกุล อิศรานุรักษ์ ได้พิจารณาตรวจสอบแก้ไข ความตรงตามเนื้อหาของตัวแปร ความครอบคลุมชัดเจนของคำถามที่ใช้ความถูกต้องและเหมาะสม ค่าความเชื่อมั่น (Reliability) ของแบบสอบถาม ประกอบด้วย 4 ประเด็นคือ การใช้เวลาในการทากิจกรรมร่วมกันของสมาชิกในครอบครัว ทั้งในบ้านและนอกบ้าน มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.70 การพูดคุยปรึกษาหารือและตัดสินใจในเรื่องสาคัญต่างๆ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.65 การแสดงออกซึ่งความรัก ความเอื้ออาทรต่อกัน ทั้งทางกาย วาจา ใจ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.62 และการปฏิบัติตามบทบาทหน้าที่ที่เหมาะสมของสมาชิกในครอบครัว มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.68 แล้วนาข้อเสนอแนะของผู้ทรงคุณวุฒิ มาพิจารณาเป็นรายข้อ เพื่อจัดทำแบบสอบถามในลำดับต่อไป โดยผู้วิจัยสกาวรัตน์ ตั้งจิตถนอม  


 







Copyright © 2011 All Rights Reserved.
Department of Psychiatry, Faculty of Medicine, Chulalongkorn University BANGKOK 10330
Tel: (662) 256-4000-61509