ReadyPlanet.com
dot dot




สัมพันธภาพระหว่างคู่สมรส The Dyadic Adjustment Scale

 

 แบบสอบถามสัมพันธภาพระหว่างคู่สมรส ประเมินโดยใช้แบบวัด The Dyadic Adjustment Scale

โดย Spanier(1983) แปลเป็นภาษาไทยโดยสุพรรณี สุ่มเล็ก (2538) (อ้างในศิริรัตน์ สฤษดิ์อภิรักษ์) (27) ประกอบด้วยข้อคำถามเกี่ยวกับคุณภาพชีวิตสมรสและความสัมพันธ์อื่นๆที่คล้ายคลึงกันจำนวน 28 ข้อ แบ่งเป็น 4 ด้านคือ

ด้านที่ 1 ความเห็นพ้องกันของคู่สมรส (dyadic consensus) มี 10 ข้อ ได้แก่ ข้อ 1-3, 5, 7-9, 10-12

ด้านที่ 2 ความพึงพอใจในคูสมรส (dyadic satisfaction) มี 9 ข้อ ได้แก่่ ข้อ 13-19, 27-28

ด้านที่ 3 ความกลมเกลียวของคู่สมรส (dyadic cohesion) มี 5 ข้อได้แก่ ข้อ 20- 24

ด้านที่ 4 การแสดงความรัก (affectional expression) มี 4 ข้อ ได้แก่ ข้อ 4, 6, 25, 26

ข้อความที่ ใช้ในแบบวัด สัมพันธภาพระหว่างคู่สมรสนี้ ประกอบด้วยข้อความที่ มีความหมายด้านบวกจำนวน 21 ข้อได้แก่ ข้อ 1-12, 15-16, 20-24, 27-28 และข้อความที่มีความหมายด้านลบจำนวน 7 ข้อ ได้แก่ข้อ 13-14, 17-19 และ25-26 ให้ประเมินด้วยตนเองว่า ข้อความในแต่ละข้อคำถามนั้นตรงกับความคิดเห็นของตนมากน้อยเพียงใด ลักษณะคำตอบเป็นมาตราส่วนประมาณค่า 5 อันดับ

เกณฑ์การให้คะแนนข้อความที่มีความหมายด้านบวก ให้คะแนนดังนี้

บ่อยมากที่สุดให้  คะแนนเป็น 5

บ่อยมากให้       คะแนนเป็น 4

บ่อยให้           คะแนนเป็น 3

บางครั้งให้        คะแนนเป็น 2

ไม่เคยเลยให้      คะแนนเป็น 1

เกณฑ์การให้คะแนนข้อความที่มีความหมายด้านลบ ให้คะแนนดังนี้

บ่อยมากที่สุดให้  คะแนนเป็น 1

บ่อยมากให้       คะแนนเป็น 2

บ่อยให้           คะแนนเป็น 3

บางครั้งให้        คะแนนเป็น 4   

ไม่เคยเลยให้      คะแนนเป็น 5

การคำนวณคะแนน คะแนนรวมทั้งหมดของแบบวัดอยู่ระหว่าง 28-140 คะแนน

คะแนนมาก หมายถึง มีสัมพันธภาพระหว่างคู่สมรสดี

คะแนนน้อย หมายถึง มีสัมพันธภาพระหว่างคู่สมรสไม่ดี นอกจากนี้ ในการศึกษาครั้งนี้ยังใช้ควอไทล์

(quartile) แบ่งคะแนนสัมพันธภาพระหว่างคู่สมรสออกเป็น 3 ระดับ ดังนี้

คะแนนรวม 28 – 56 คะแนน หมายความว่า มีสัมพันธภาพระหว่างคู่สมรสอยู่ในระดับไม่ดี

คะแนนรวม 57 – 112 คะแนน หมายความว่า มีสัมพันธภาพระหว่างคู่สมรสอยู่ในระดับปานกลาง

คะแนนรวม 113 – 140 คะแนน หมายความว่า มีสัมพันธภาพระหว่างคู่สมรสอยู่ในระดับดี

สุพรรณี สุ่มเล็ก (2538: 42-43) ตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือใช้กับกลุ่มตัวอย่างมารดาหลังคลอด จำนวน 205ราย ได้ค่าความเชื่อมั่น .82 วรรณี สระโมฬี (2546: 35) ได้ตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือโดยใช้กับกลุ่มตัวอย่างหญิงตั้งครรภ์ปกติที่มีอายุครรภ์ 20 สัปดาห์ขึ้นไปจำนวน 200 ราย ได้ค่าสัมประสิทธิอัลฟ่าครอนบาคของแบบวัดทั้งชุด = .91 ความเห็นพ้องกันของคู่สมรส = .82 ความพึงพอใจในคู่สมรส = .86 ความกลมเกลียวของคู่สมรส =.76 และการแสดงความรัก = .54








Copyright © 2011 All Rights Reserved.
Department of Psychiatry, Faculty of Medicine, Chulalongkorn University BANGKOK 10330
Tel: (662) 256-4000-61509