ReadyPlanet.com
dot dot




อาการพฤติกรรม SNAP สมาธิสั้น

 

 

 

แบบประเมินอาการพฤติกรรม SNAP-IV

(Swanson , Nolan and Pelham IV Questionnaire) (Short Form)  ฉบับภาษาไทย

แบบสอบถามเพื่อประเมินอาการและความรุนแรงของโรคสมาธิสั้นกรอกโดยผู้ปกครอง  ได้แก่ แบบประเมินอาการพฤติกรรม SNAP-IV (Swanson , Nolan and Pelham IV Questionnaire) (Short Form)  ฉบับภาษาไทย  ประกอบด้วยข้อคำถามทั้งสิ้น  26  ข้อ  เพื่อประเมินอาการของโรคสมาธิสั้น โดยแยกเป็นด้าน  Inattention , Hyperactivity/Impulsivity  และ  Oppositional  Defiant  จากการศึกษาของ  Collett (9)  พบว่า ถ้าคะแนนรวมเฉลี่ยในแต่ละด้านที่เกินเปอร์เซ็นต์ไทล์ที่  95  ถือว่ามีอาการมากถึงระดับมีความสำคัญทางคลินิก  เป็นแบบสอบถามที่ใช้ในการวัดความเปลี่ยนแปลงของอาการสมาธิสั้นที่เป็นผลจากการให้การรักษาด้วยการวัดซ้ำได้ดี  และมีการศึกษาของ  Steven  และคณะ  พบว่า  ค่าความเชื่อมั่นและค่าความเที่ยงแบบทดสอบชนิดนี้ยังไม่มีการระบุที่ชัดเจนโดย  Swanson  และคณะ (16รายงานว่า  เป็นแบบทดสอบที่ใช้วัดอาการของโรคสมาธิสั้นกันอย่างแพร่หลาย  ส่วนแบบทดสอบ  SNAP-IV  ฉบับภาษาไทย  แปลโดยณัทธร  พิทยรัตนเสถียร  ที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้พบว่า  ค่าความเชื่อมั่นทางสถิติของแบบสอบถาม  เพื่อวัดความสอดคล้องภายในชุดเดียวกัน  (Internal consistency)  โดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาค  (Cronbach’s Alpha Coefficient)  มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ  0.927

โดยข้อคำถามทุกข้อ  มีคำตอบให้เลือก  4  ระดับ  ซึ่งกำหนดค่าคะแนนในแต่ละระดับดังนี้  ไม่เลย (0 คะแนน) , เล็กน้อย (1คะแนน) , ค่อนข้างมาก (2คะแนน) , มาก (3 คะแนน)  เมื่อได้คะแนนครบทุกข้อ  จากนั้นนำคะแนนทุกข้อมารวมกัน  ซึ่งคะแนนรวมที่ได้จะอยู่ระหว่าง  0 – 78  คะแนน  แปลค่าคะแนนตาม  distributions  โดยคะแนนยิ่งมากยิ่งมีความรุนแรงของโรคสมาธิสั้นมาก ใช้เกณฑ์ตามการกระจายของข้อมูล โดยใช้ค่าเฉลี่ย (Mean)  ± 1 SD  จากนั้นจึงนำคะแนนมาแปลผลดังนี้

คะแนนที่ได้ต่ำกว่าค่าเฉลี่ย  (Mean)  - 1 SD  แปลว่า  มีความรุนแรงของโรคสมาธิสั้นอยู่ในระดับต่ำ

คะแนนที่ได้ระหว่างค่าเฉลี่ย  (Mean) ± 1 SD    แปลว่า   มีความรุนแรงของโรคสมาธิสั้นอยู่ในระดับปานกลาง 

คะแนนที่ได้สูงกว่าค่าเฉลี่ย  (Mean) + 1 SD แปลว่า มีความรุนแรงของโรคสมาธิสั้นอยู่ในระดับสูง


 







Copyright © 2011 All Rights Reserved.
Department of Psychiatry, Faculty of Medicine, Chulalongkorn University BANGKOK 10330
Tel: (662) 256-4000-61509