หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาวิชาสุขภาพจิต
(หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๕๔)
------------------------------------------
ชื่อสถาบันอุดมศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
คณะ / ภาควิชา คณะแพทยศาสตร์ ภาควิชาจิตเวชศาสตร์
ข้อมูลทั่วไป
รหัสและชื่อหลักสูตร
ภาษาไทย : หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสุขภาพจิต
ภาษาอังกฤษ : Master of Science Program in Mental Health
ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
ชื่อเต็ม (ไทย) : วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
ชื่อย่อ (ไทย) : วท.ม.
ชื่อเต็ม (อังกฤษ) : Master of Science
ชื่อย่อ (อังกฤษ) : M.Sc.
จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร
๓๘ หน่วยกิต
อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา
นักสุขภาพจิตประจำโรงเรียน โรงพยาบาล สำนักงานสาธารณสุขประจำจังหวัด (สสจ.) สถานพินิจ มูลนิธิ ศูนย์ฟื้นฟูสุขภาพจิต สถานบำบัดฟื้นฟู เช่น โรคเอดส์ สารเสพติด และสถาบันหรือหน่วยงานอื่นที่ต้องการนักสุขภาพจิตประจำหน่วยงาน
นักวิจัย นักวิชาการทางด้านสุขภาพจิต ครูอาจารย์
นักจิตบำบัด ผู้ให้คำปรึกษาด้านสุขภาพจิตในองค์กร
งานฝ่ายทรัพยากรบุคคล ฝ่ายพัฒนาบุคลากร
สถานที่จัดการเรียนการสอน
๕.๑ ห้องเรียนและห้องฝึกปฏิบัติของภาควิชาจิตเวชศาสตร์ / แผนกจิตเวชศาสตร์ ตึกธนาคารกรุงเทพ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
๕.๒ ห้องเรียนและห้องฝึกปฏิบัติงาน ตึก ภปร. ชั้น ๑๒ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ และ ห้องเรียน และสถานฝึกปฏิบัติงาน ตลอดจนอุปกรณ์อื่น ๆ ตามที่อาจารย์ผู้ควบคุมเห็นสมควร
ข้อมูลเฉพาะของหลักสูตร
ปรัชญา ความสำคัญ และวัตถุประสงค์ของหลักสูตร
ปรัชญาของหลักสูตร
“สร้างบัณฑิตให้คิดและวิจัย พร้อมทั้งนำความรู้ไปพัฒนาสังคมไทยด้านสุขภาพจิต”
ความสำคัญของหลักสูตร
จากสถานการณ์สังคม เศรษฐกิจ วัฒนธรรมและการเมืองในประเทศไทย มีแนวโน้มจะส่งผลให้มีผู้มีปัญหาทางสุขภาพจิตที่เพิ่มมากขึ้น รวมถึงวิชาการด้านสุขภาพจิตเป็นที่สนใจจากคนทั่วไปในวงกว้าง และเป็นวิทยาการที่ได้พัฒนาก้าวหน้าเป็นอย่างมากในต่างประเทศ อย่างไรก็ตาม บุคลากรที่มีความรู้และสามารถปฏิบัติงานเกี่ยวกับสุขภาพจิตของสังคมไทย ยังมีอยู่อย่างค่อนข้างจำกัด การผลิตบัณฑิตเพื่อไปพัฒนาสุขภาพจิตของประชาชนจึงมีความสำคัญต่อประเทศชาติ ภาควิชาฯซึ่งได้ ดำเนินการเปิดสอนหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาสุขภาพจิตมาแล้วกว่า ๒๐ ปี และมีการดำเนินการปรับปรุงโครงสร้างหลักสูตรมาอย่างต่อเนื่อง โดย ได้ดำเนินการครั้งสุดท้าย เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๙ ดังนั้น เพื่อให้สอดคล้องกับความก้าวหน้าทางวิทยาการ และสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป ทั้งในส่วนของภาควิชาฯ และมหาวิทยาลัยเอง เช่น ข้อกำหนดด้านการตีพิมพ์ผลงานวิจัย และสถานการณ์ในปัจจุบัน จึงได้ปรับปรุงโครงสร้างของหลักสูตรและเนื้อหาวิชาให้เหมาะสมและทันสมัยยิ่งขึ้น
วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
เพื่อผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ และทักษะด้านสุขภาพจิตอย่างเพียงพอ สำหรับใช้ในงาน ส่งเสริม ป้องกัน บำบัด ฟื้นฟู และการวิจัยทางด้านสุขภาพจิต
เพื่อผลิตงานวิจัยและสร้างองค์ความรู้ใหม่ทางด้านสุขภาพจิต
ระบบการจัดการศึกษา การดำเนินการ และโครงสร้างของหลักสูตร
ระบบการจัดการศึกษา
การจัดการศึกษาเป็นแบบทวิภาค ข้อกำหนดต่างๆให้เป็นไปตามข้อบังคับจุฬาฯ ว่าด้วยการศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. ๒๕๕๑
หลักสูตร (แผน ก แบบ ก 2)
โครงสร้างหลักสูตร
จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร
|
38
|
หน่วยกิต
|
1. จำนวนหน่วยรายวิชาเรียน
|
26
|
หน่วยกิต
|
รายวิชาบังคับ
|
22
|
หน่วยกิต
|
รายวิชาเลือก
|
4
|
หน่วยกิต
|
2. วิทยานิพนธ์
|
12
|
หน่วยกิต
|
รายวิชา
รายวิชาบังคับ 22 หน่วยกิต
3007709 ปัจจัยทางสังคมและวัฒนธรรมกับสุขภาพ 2(2-0-6)
Social and Cultural Factors Influencing Health
3007741 การให้คำปรึกษาและจิตบำบัดเบื้องต้น 2(1-3-4 )
Basic Counseling and Psychotherapy
3007753 กุมารจิตเวชศาสตร์คลินิก 4(2-6-8)
Clinical Child Psychiatry
3007754 จิตเวชศาสตร์คลินิก 4(2-6-8)
Clinical Psychiatry
3007756 พฤติกรรมศาสตร์ประยุกต์ 1(1-0-3)
Applied Behavioral Science
3007757 บุคลิกภาพและวงจรชีวิต 2(2-0-6)
Personality and Life Cycle
3007760 สุขภาพจิตชุมชน 4(1-9-6)
Community Mental Health
3007761 การวิจัยทางสุขภาพจิตเบื้องต้น 2(2-0-6)
Introduction to Mental Health Research
3007763 การวิจัยทางสุขภาพจิตประยุกต์ 1(1-0-3)
Applied Mental Health Research
รายวิชาเลือก 4 หน่วยกิต
3007704 การบริหารงานสุขภาพจิต 1(1-0-3)
Mental Health Administration
3007722 การป้องกันและบำบัดผู้ติดยาเสพติด 2(1-3-4)
Prevention and Management for Drug Abusers
3007723 จิตเวชศาสตร์วัยรุ่นคลินิก 2(1-3-4)
Clinical Adolescent Psychiatry
3007724 จิตเวชศาสตร์ผู้สูงอายุคลินิก 2(1-3-4)
Clinical Geriatric Psychiatry
3007729 การให้การปรึกษาแก่ผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์ 1(0-3-1)
Counseling for HIV/AIDS Patients
3007738 จิตบำบัด 2 2(1-3-4)
Psychotherapy II
3007739 จิตบำบัดแนวมนุษยนิยม 1(1-0-3)
Humanistic Psychotherapy
3007740 ครอบครัวบำบัด 2(1-3-4)
Family Therapy
3007742 การบำบัดความคิดและพฤติกรรม 2(1-3-4)
Cognitive and Behavioral Therapy
3007743 จิตบำบัดสัมพันธภาพระหว่างบุคคล 2(1-3-4)
Interpersonal Psychotherapy
3007758 จิตวิทยาคลินิกประยุกต์ 1(0-3-1)
Applied Clinical Psychology
3007764 การประเมินเชิงวิพากษ์งานวิจัยทางสุขภาพจิต 1(1-0-3)
Critical Appraisal of Mental Health Research
วิทยานิพนธ์
3007811 วิทยานิพนธ์ 12 หน่วยกิต
Thesis
แผนการศึกษา แผน ก แบบ ก ๒
ปีที่ 1
|
ภาคการศึกษาที่ 1
|
|
หน่วยกิต
|
|
3007709
|
ปัจจัยทางสังคมและวัฒนธรรมกับสุขภาพ
|
2
|
|
3007756
|
พฤติกรรมศาสตร์ประยุกต์
|
1
|
|
3007757
|
บุคลิกภาพและวงจรชีวิต
|
2
|
|
3007761
|
การวิจัยทางสุขภาพจิตเบื้องต้น
|
2
|
|
3007741
|
การให้คำปรึกษาและจิตบำบัดเบื้องต้น
|
2
|
|
|
|
9
|
ปีที่ 1
|
ภาคการศึกษาที่ 2
|
|
|
|
3007753
|
กุมารจิตเวชศาสตร์คลินิก
|
4
|
|
3007754
|
จิตเวชศาสตร์คลินิก
|
4
|
|
3007763
|
การวิจัยทางสุขภาพจิตประยุกต์
|
1
|
|
|
|
9
|
ปีที่ 2
|
ภาคการศึกษาที่ 1
|
|
|
|
3007760
|
สุขภาพจิตชุมชน
|
4
|
|
|
วิชาเลือก
|
2
|
|
3007811
|
วิทยานิพนธ์
|
4
|
|
|
|
10
|
ปีที่ 2
|
ภาคการศึกษาที่ 2
|
|
|
|
|
วิชาเลือก
|
2
|
|
3007811
|
วิทยานิพนธ์
|
8
|
|
|
|
10
|
คำอธิบายรายวิชา
3007704 การบริหารงานสุขภาพจิต 1(1-0-3)
หลักการบริหารงานสาธารณสุข นโยบายสาธารณสุข ปัญหาการบริการสาธารณสุขโดยเฉพาะด้านสุขภาพจิต หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพจิตและจิตเวช กฎหมายเกี่ยวกับการสาธารณสุข
3007709 ปัจจัยทางสังคมและวัฒนธรรมกับสุขภาพ 2(2-0-6)
ทฤษฎีและหลักการว่าด้วยอิทธิพลของสังคมและวัฒนธรรมต่อสุขภาพทั้งปกติและผิดปกติ การนำทฤษฎีและหลักการดังกล่าวไปประยุกต์ใช้กับงานสุขภาพจิต
3007722 การป้องกันและบำบัดผู้ติดยาเสพติด 2(1-3-4)
พฤติกรรมการติดและกลไกการติดสารเสพติด การประเมินผู้ติดสารเสพติดและความผิดปรกติทางจิตที่พบร่วม หลักการทั่วไปในการบำบัดผู้ติดสารเสพติด การบำบัดโดยการสร้างแรงจูงใจ การให้รางวัล และขั้นตอนการเปลี่ยนแปลง
3007723 จิตเวชศาสตร์วัยรุ่นคลินิก 2(1-3-4)
พัฒนาการในช่วงวัยรุ่นโดยละเอียด การเปลี่ยนแปลงด้านร่างกายจิตใจและสังคม การปรับตัวและปัญหาความผิดปกติทางจิตใจที่เกิดขึ้นในวัยรุ่น แนวทางการป้องกันและแก้ไข
3007724 จิตเวชศาสตร์ผู้สูงอายุคลินิก 2(1-3-4)
การเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย จิตใจและสังคมที่มีผลต่อภาวะอารมณ์ของผู้สูงอายุ แนวทางการป้องกัน และแก้ไขปัญหาความผิดปกติทางจิตใจที่เกิดขึ้นบ่อยในวัยดังกล่าว ปัจจัยที่ส่งเสริมการมีอายุยืน
3007729 การให้การปรึกษาแก่ผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์ 1(0-3-1)
ทักษะการติดต่อสื่อสาร การให้คำปรึกษาแนะนำเพื่อป้องกันและควบคุมโรคเอดส์ การบรรเทาปัญหาทางจิตของผู้ติดเชื้อและผู้ป่วยโรคเอดส์
3007738 จิตบำบัด 2 2(1-3-4)
หลักการทั่วไปในการทำจิตบำบัดเฉพาะด้านที่ใช้บ่อย พฤติกรรมบำบัด การบำบัดความคิดและพฤติกรรม ครอบครัวบำบัด การบำบัดทางความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล กลุ่มกิจกรรม การบำบัดโดยเน้นการแก้ปัญหา
3007739 จิตบำบัดแนวมนุษยนิยม 1(1-0-3)
จิตวิทยาแนวมนุษยนิยม การบำบัดแนว เกสตอล จิตบำบัดแนวอัตถิภาวนิยม การบำบัดแนวซาเทียร์ จิตบำบัดแนวพุทธ
3007740 ครอบครัวบำบัด 2(1-3-4)
ทฤษฎีระบบ วงจรของครอบครัว ทฤษฎีครอบครัวบำบัด เทคนิคของครอบครัวบำบัด ครอบครัวบำบัดในกุมารจิตเวชและจิตเวชวัยรุ่น การบำบัดคู่สมรส
3007741 การให้คำปรึกษาและจิตบำบัดเบื้องต้น 2(1-3-4)
หลักการทำจิตบำบัดโดยวิธีขั้นพื้นฐานเพื่อช่วยเหลือผู้ที่มีปัญหาทางจิต การให้การปรึกษา การทำจิตบำบัดแบบประคับประคอง การบูรณาการภาคทฤษฎีและปฏิบัติ
3007742 การบำบัดความคิดและพฤติกรรม 2(1-3-4)
ทฤษฎีการเรียนรู้ เทคนิคการบำบัดเพื่อปรับเปลี่ยนวิธีคิดและพฤติกรรม
3007743 จิตบำบัดสัมพันธภาพระหว่างบุคคล 2(1-3-4)
ทฤษฎีและแนวคิดของจิตบำบัดสัมพันธภาพระหว่างบุคคล พื้นฐานเชิงทฤษฎี ลักษณะสำคัญ กระบวนการรักษา วิธีการและเทคนิค ประสิทธิภาพ และงานวิจัยเกี่ยวกับจิตบำบัดสัมพันธภาพระหว่างบุคคล ปฏิบัติกรณีสมมติและกรณีตัวอย่าง การสาธิตวีดิทัศน์การบำบัด การใช้บทบาทสมมติ และการฝึกให้คำปรึกษากรณีผู้ป่วยจริง
3007753 กุมารจิตเวชศาสตร์คลินิก 4(2-6-8)
ปัญหาทางสุขภาพจิตและความผิดปกติทางจิตเวชที่พบได้บ่อยในเด็ก แนวทางการส่งเสริม ป้องกัน และรักษาเบื้องต้น
3007754 จิตเวชศาสตร์คลินิก 4(2-6-8)
ปัญหาทางสุขภาพจิตและความผิดปกติทางจิตเวชที่พบได้บ่อยในผู้ใหญ่แนวทางการส่งเสริมป้องกัน และรักษาเบื้องต้น
3007756 พฤติกรรมศาสตร์ประยุกต์ 1(1-0-3)
ทฤษฎีและหลักของการพัฒนาพฤติกรรม อารมณ์ และความคิดของมนุษย์ การประยุกต์ใช้ในงานสุขภาพจิต
3007757 บุคลิกภาพและวงจรชีวิต 2(2-0-6)
โครงสร้างและปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อบุคลิกภาพ ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาทางบุคลิกภาพ วงจรของชีวิตที่มีการเปลี่ยนแปลงทั้งด้านร่างกาย จิตใจ และสังคม ปัญหาในระหว่างพัฒนาการ
3007758 จิตวิทยาคลินิกประยุกต์ 1(0-3-1)
หลักจิตวิทยาคลินิกและทฤษฎีต่าง ๆ การประยุกต์ใช้กับงานสุขภาพจิต
3007760 สุขภาพจิตชุมชน 4(1-9-6)
หลักการของสุขภาพจิตชุมชน การให้บริการทางด้านการส่งเสริม ป้องกัน รักษา และฟื้นฟูสุขภาพจิต โดยการผสมผสานงานสุขภาพจิตเข้ากับระบบบริการและสาธารณสุขมูลฐานตามนโยบายของกระทรวงสาธารณสุข
3007761 การวิจัยทางสุขภาพจิตเบื้องต้น 2(2-0-6)
กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ กระบวนการวิจัย การออกแบบและวิธีวิทยาการวิจัย การวิจัยเชิงคุณภาพ การวิจัยด้านสังคมศาสตร์สาธารณสุข ระบาดวิทยาพื้นฐาน ประชากรและตัวอย่าง การวัดสุขภาพจิตและความผิดปกติทางจิต การประเมินปัจจัยทางจิตสังคมที่มีผลต่อปัญหาสุขภาพจิต
3007763* การวิจัยทางสุขภาพจิตประยุกต์ 1(1-0-3)
การจัดการและการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงสถิติ สถิติเบื้องต้น ตัวชี้วัดทางสุขภาพจิต การพัฒนาเครื่องมือวัดสุขภาพจิต การประเมินสมรรถภาพทางจิต การประเมินผลการบริการด้านสุขภาพจิต
3007764* การประเมินเชิงวิพากษ์งานวิจัยทางสุขภาพจิต 1(1-0-3)
การฝึกวิเคราะห์ วิจารณ์ และประเมินบทความวิจัยด้านสุขภาพจิตหรือพฤติกรรมทางจิต การเลือกบทความวิจัยที่น่าสนใจอย่างสมเหตุสมผล
3007811 วิทยานิพนธ์ 12 หน่วยกิต
COURSE DESCRIPTION
3007704 Mental Health Administration 1(1-0-3)
MENTAL HEALTH AD
Principles of public health administration, health policy, problems in the health service with emphasis on mental health, mental health organization and laws involved in public health.
3007709 Social and Cultural Factors Influencing Health 2(2-0-6)
SOC CULT HEALTH
Theories and principles of social and cultural factors influencing health, both normal and abnormal , and applications to mental health practice.
3007722 Prevention and Management for Drug Abusers 2(1-3-4)
DRUG ABUSE
Addictive behavior and mechanism of substance dependence; assessment of substance dependence and comorbidity or dual diagnosis; general principles of substance dependence treatment, including motivational interview, contingency management, and stages of change model.
3007723 Clinical Adolescent Psychiatry 2(1-3-4)
ADOL PSY
Developments in adolescence such as changes of the body, mind and social with adaptation of these changes, mental problems, prevention and management.
3007724 Clinical Geriatric Psychiatry 2(1-3-4)
GER PSY
The changes of body, mind and socially that affect the emotional state of the elderly ; preventive measures and treatments of mental problems which often occur in this period and factors that promote longevity.
3007729 Counseling for HIV/AIDS Patients 1(0-3-1)
AIDS COUNSELING
Communication skill and Counseling for prevention and control of AIDS ; relief of psychological problems in HIV infected and AIDS patients.
3007738 Psychotherapy II 2(1-3-4)
PSYCHOTHERAPY II
General principles of some types of psychotherapy : behavior therapy , cognitive therapy, family
therapy, interpersonal psychotherapy, group therapy, solution focused therapy.
3007739 Humanistic Psychotherapy 1(1-0-3)
HUM PSYCHOTHERAPY
Humanistic psychology ; Gestalt therapy ; Existential psychotherapy ; Satir therapy ; Buddhist psychotherapy.
3007740 Family Therapy 2(1-3-4)
FAMILY THERAPY
System theory ; family cycle ; theories of family therapy ; family therapy techniques ; family therapy in child and adolescent psychiatry ; couple therapy.
3007741 Basic Counseling and Psychotherapy 2(1-3-4)
BSC COUN
Principles of basic methods of psychotherapy to help individuals with mental health problems : counseling, supportive psychotherapy; integration of theories and practice.
3007742 Cognitive and Behavioral Therapy 2(1-3-4)
COG BEHAV THERAPY
Learning theory, cognitive and behavioral therapy techniques.
3007743 Interpersonal Psychotherapy 2(1-3-4)
INTERPERS THERAPY
Theory and concepts of interpersonal psychotherapy (IPT): theoretical background, important characteristics, therapeutic process, methods and techniques, efficacy, and researches on IPT; practice of IPT: case scenario and case vignettes, VDO demonstration, role play, and case supervision practice of IPT.
3007753 Clinical Child Psychiatry 4(2-6-8)
CHILD PSY
Common mental health problems and psychiatric disorders in child and adolescents; basic prevention and management.
3007754 Clinical Psychiatry 4(2-6-8)
CLI PSY
Common mental health problems and psychiatric disorders in adults; basic prevention and management.
3007756 Applied Behavioral Science 1(1-0-3)
APPL BEHAV SCI
Theories and principles of development of human behavior, emotional and cognitive process, application to mental health practice.
3007757 Personality and Life Cycle 2(2-0-6)
PERSON LIFE CYCLE
Structures of personality and factors influencing it ; theories of personality development and the life cycle in its physical , mental and social aspects ; personality and personality disorders.
3007758 Applied Clinical Psychology 1(0-3-1)
APPL CLIN PSYCHOL
Principles and theories of clinical psychology, application to mental health practice.
3007760 Community Mental Health 4(1-9-6)
COM MENT HLTH
Principles of community mental health including curative and preventive services as well as mental health promotion in the community by integrating mental health into health service system and primary health care according to the Ministry of Public Health policy.
3007761 Introduction to Mental Health Research 2(2-0-6)
INTR MENT HLTH RES
Scientific process ; research process ; research design and methodology; qualitative research ; research in health and social science; basic epidemiology ; population and samples ; measurement of mental health and mental disorder ; assessment of psychosocial factors affecting mental disorder.
3007763 Applied Mental Health Research 1(1-0-3)
APPL MENT HLTH RES
Data management and statistical analysis ; basic statistics ; mental health indicators ; development of mental health measures; assessment of mental function ; evaluation of mental health service.
3007764 Critical Appraisal of Mental Health Research 1(1-0-3)
CRIT APP MENT HLTH
Practice in critical analysis and appraisal of research articles related to mental health or psychiatric behaviors; rational selecting research articles of interest.
3007811 Thesis 12 credits
ประสบการณ์ภาคสนาม (การฝึกงาน)
หลักสูตรฯจัดให้นิสิตมีการฝึกภาคสนาม ในการเป็นผู้ดำเนินงานจัดกิจกรรมเสริมสร้างทักษะสำหรับเด็กทั่วไป ในโครงการ MDCU Happy Kids…Happy Life โดยนิสิตเป็นผู้จัดการดำเนินการด้วยตนเองในรูปแบบกลุ่มรวมถึงการลงชุมชนเพื่อทำงานสร้างเสริมสุขภาพจิตแก่คนในชุมชนด้วยตนเอง
ข้อกำหนดเกี่ยวกับการทำวิทยานิพนธ์ (จำนวนหน่วยกิต ๑๒ หน่วยกิต)
คำอธิบายโดยย่อ
เป็นงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับงานสุขภาพจิตสำหรับทำวิทยานิพนธ์โดยเปิดกว้างให้สามารถเลือกหัวข้อข้อเสนอโครงงานที่นิสิตสนใจได้ด้วยตนเอง โดยอาจเป็นงานวิจัยเพื่อให้ได้องค์ความรู้ใหม่ หรือ เป็นงานวิจัยพื้นฐาน ต่อยอดได้
มาตรฐานผลการเรียนรู้
การมีทักษะในการดำเนินงานวิจัยทางสุขภาพจิต การสามารถวิเคราะห์ทางสถิติ นำเสนอผลงาน และตีพิมพ์เผยแพร่อย่างถูกต้องตามจริยธรรมการวิจัยและจรรยาบรรณนักวิจัย
ช่วงเวลา
ระบุให้ทำโครงงานหรืองานวิจัย โดยเริ่มเขียนโครงร่างงานวิจัยใน ปีที่ ๑ ช่วงปลายของภาคการศึกษาต้น และเริ่มดำเนินการวิจัย ได้ตั้งแต่หลังสอบโครงร่าง ในปีที่ ๑ ช่วงต้นของภาคการศึกษาปลาย จนกระทั่งสำเร็จการศึกษา
การเตรียมการ
นิสิตจะได้รับการอธิบายเกี่ยวกับการเตรียมการทำวิจัย ตั้งแต่แรกเข้า พร้อมคู่มือการดำเนินงาน โดยมีสมุดบันทึกแต่ละลำดับขั้นของการดำเนินงาน รวมถึงบันทึกการเข้าพบอาจารย์ที่ปรึกษา นอกจากนี้ ได้จัดให้มีบริการช่วยเหลือทางด้านวิชาการ ด้านงานวิจัย เช่น จัดเตรียมนักสถิติที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญในงานด้านสุขภาพจิต แก่นิสิตที่ต้องการปรึกษา หรือ ขอความช่วยเหลืองานด้านสถิติเพิ่มเติมจากชั่วโมงเรียนด้านการวิจัยที่มีอยู่เป็นพื้นฐานแล้ว
กระบวนการประเมินผล
ขณะสอบโครงร่างวิทยานิพนธ์ จะมีการบันทึกข้อเสนอแนะเป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อให้มั่นใจได้ว่านิสิตได้รับรู้ถึงสิ่งที่กรรมการสอบได้เสนอ โดยโครงร่างที่ผ่านการแก้ไขแล้ว จะต้องได้รับการทวนสอบจากอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ คณะกรรมการบริหารหลักสูตรฯ ตลอดจนถึงคณะกรรมการบริหารคณะฯ โดยโครงร่างทุกฉบับจะต้องได้รับการอนุมัติให้ดำเนินการวิจัยได้ จากคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัย ของคณะฯ ก่อนเริ่มดำเนินการวิจัย ทั้งนี้ ผลงานวิจัยของนิสิต จะได้รับการประเมินผลโดยพิจารณาจากการได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ผลงานวิจัยในวารสารวิชาการ และการประเมินผลโดยกรรมการสอบวิทยานิพนธ์ ตามเกณฑ์ข้อบังคับของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ผลการเรียนรู้ กลยุทธ์การสอนและการประเมินผล
การพัฒนาคุณลักษณะพิเศษของนิสิต
คุณลักษณะพิเศษของนิสิตที่ทางหลักสูตรฯคาดหวังมีลักษณะดังต่อไปนี้
คุณลักษณะพิเศษ
|
กลยุทธ์หรือกิจกรรมของนิสิต
|
มีความรู้เชิงลึกด้านสุขภาพจิตที่ทันสมัย
|
- การเรียนด้านสุขภาพจิตในรายวิชาต่างๆ
|
มีทักษะและความคิดริเริ่มในการปฏิบัติและพัฒนางานด้านส่งเสริม ป้องกัน บำบัดและฟื้นฟูสุขภาพจิต
|
- การจัดทำกิจกรรมพัฒนาสุขภาพจิตแก่ประชาชน ในโครงงาน และรายวิชาต่างๆ
- การฝึกปฏิบัติการสัมภาษณ์และการทำจิตบำบัด
|
มีทักษะในการดำเนินงานวิจัยทางสุขภาพจิต สามารถวิเคราะห์ทางสถิติ นำเสนอผลงาน และตีพิมพ์เผยแพร่อย่างถูกต้องตามจริยธรรมการวิจัยและจรรยาบรรณนักวิจัย
|
- การเรียนการสอนในรายวิชาด้านการทำวิจัย
- การอนุมัติการวิจัยโดยคณะกรรมการจริยธรรม
- โครงการจัดการปรึกษาด้านสถิติแก่นิสิต
- การสอบโครงร่างและป้องกันวิทยานิพนธ์
|
สามารถทำงานเป็นทีมหรือมีส่วนร่วมในกลุ่มงานหรือเป็นผู้นำได้อย่างมีประสิทธิภาพเหมาะสมกับสถานการณ์ วัฒนธรรม และสังคม
|
- การมอบหมายงานเป็นกลุ่มในการทำกิจกรรม
- การจัดโครงการพัฒนาทักษะการทำงานเป็นทีม
- การเข้าร่วมกิจกรรมที่ส่งเสริมวัฒนธรรมไทย
|
สามารถพัฒนาความสามารถในการสื่อสาร การเข้าใจตนเอง และผู้อื่น
|
- การจัดโครงการพัฒนานิสิตประจำปี
- การเรียนเรื่องการสื่อสารและการทำจิตบำบัด
|
มีความรู้รอบตัวและสามารถเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่อง
|
- การเรียนการสอนรายวิชาด้านสังคม
- การให้ศึกษาค้นคว้าความรู้ใหม่ด้วยตนเอง และนำเสนอหน้าชั้นเรียน
|
การพัฒนาผลการเรียนรู้ในแต่ละด้าน
มีความรู้
ผลการเรียนรู้
|
กลยุทธ์การสอนที่ใช้พัฒนาการเรียนรู้
|
กลยุทธ์การประเมินผลการเรียนรู้
|
มีความรู้รอบตัว และสามารถประยุกต์ใช้ในการดํารงชีวิต รู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม
|
- การเรียนการสอน รายวิชาด้านสังคม เช่น รายวิชาปัจจัยทางสังคมและวัฒนธรรมฯ
|
- การให้เกรดของรายวิชา
- การจัดทำรายงานหรือนำเสนอหัวข้อที่เกี่ยวข้องกับปัญหาทางสังคม
|
มีความรู้ที่ทันสมัย ในสาขาวิชาสุขภาพจิต เข้าใจอย่างลึกซึ้งในเนื้อหาสาระหลัก และมีความรู้ในการพัฒนาความรู้ใหม่ และประยุกต์ใช้
|
- การเรียนการสอนด้านสุขภาพจิตในภาคทฤษฎี และภาคปฏิบัติ ทั้งในระดับพื้นฐาน และระดับประยุกต์
|
- การให้เกรดของแต่ละรายวิชา
|
มีคุณธรรม
ผลการเรียนรู้
|
กลยุทธ์การสอนที่ใช้พัฒนาการเรียนรู้
|
กลยุทธ์การประเมินผลการเรียนรู้
|
มีคุณธรรมและจริยธรรม
- เป็นผู้มีความรับผิดชอบ มีระเบียบวินัย ตรงต่อเวลาซื่อสัตย์สุจริต ดำรงตนให้เป็นผู้ศรัทธาในความดีและอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างมีความสุข
|
- การกำหนดและแจ้งข้อตกลงเรื่องความประพฤติของนิสิตในวันปฐมนิเทศ และการปฏิบัติตามระเบียบและข้อบังคับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
|
- ใบรายชื่อและเวลาที่เข้าเรียน
- การไม่มีข้อร้องเรียนความประพฤติที่เสื่อมเสียของนิสิตตลอดระยะเวลาศึกษา
|
มีจรรยาบรรณในด้านการประกอบอาชีพ มีทักษะในการดำเนินงานวิจัยทางสุขภาพจิตอย่างถูกต้องตามจริยธรรมการวิจัยและจรรยาบรรณนักวิจัย
|
- การเรียนจริยธรรมในรายวิชาการวิจัยฯ และสอดแทรกเนื้อหาจรรยาบรรณวิชาชีพในรายวิชาที่มีกรณีศึกษา เช่น จิตบำบัดต่างๆ
- การมีคณะกรรมการจริยธรรม ในการตรวจสอบโครงร่าง นอกเหนือจากการสอบโครงร่างและป้องกันวิทยานิพนธ์
|
- การไม่มีข้อร้องเรียนในการกระทำผิดจริยธรรมวิชาชีพหรือการวิจัย
- การให้เกรดของรายวิชา
- การได้รับการอนุมัติการทำวิจัยโดยคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัย
|
คิดเป็น
ผลการเรียนรู้
|
กลยุทธ์การสอนที่ใช้พัฒนาการเรียนรู้
|
กลยุทธ์การประเมินผลการเรียนรู้
|
สามารถคิดอย่างมีวิจารณญาณ มีตรรกะ สมเหตุผล และประเมินความรู้เดิมไปประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสม
|
- การเรียนการใช้เหตุผลทางวิทยาศาสตร์ในรายวิชาการวิจัยฯ
- การฝึกการอ่านและวิพากษ์งานวิจัยในรายวิชาการวิจัยฯ
- การทำวิทยานิพนธ์
|
- การให้เกรดของรายวิชา
- รายงานการฝึกการอ่านและวิพากษ์งานวิจัย
- ผลการประเมินวิทยานิพนธ์
|
สามารถมีความคิดริเริ่มในการปฏิบัติและพัฒนางานด้านส่งเสริม ป้องกัน บำบัดและฟื้นฟูสุขภาพจิต
|
- การมอบหมายให้จัดทำกิจกรรมพัฒนาสุขภาพจิตแก่ประชาชน เช่น โครงการ Happy Kids และโครงงานในรายวิชาสุขภาพจิตชุมชน
|
- การให้เกรดของรายวิชา
- ผลการประเมินกิจกรรมโดยประชาชนผู้เข้าร่วมงาน
|
การมีทักษะและความสามารถในการแก้ไขปัญหาให้กับตนเองหรือบุคคลอื่น
|
- การเรียนและการฝึกการสัมภาษณ์และการทำจิตบำบัดให้แก่ผู้ที่มีปัญหาชีวิตที่ส่งผลกระทบต่อตนเอง ครอบครัว หรือ สังคม เช่น รายวิชาการให้คำปรึกษาเบื้องต้น จิตบำบัดต่างๆ จิตเวชศาสตร์คลินิก และ กุมารจิตเวชศาสตร์คลินิก
|
- การให้เกรดของรายวิชา
|
ทำเป็น
ผลการเรียนรู้
|
กลยุทธ์การสอนที่ใช้พัฒนาการเรียนรู้
|
กลยุทธ์การประเมินผลการเรียนรู้
|
มีทักษะทางวิชาชีพในการปฏิบัติและพัฒนางานด้านส่งเสริม ป้องกัน บำบัดและฟื้นฟูสุขภาพจิต และมีทักษะในการดำเนินงานวิจัยทางสุขภาพจิต
|
- การมอบหมายให้จัดทำกิจกรรมพัฒนาสุขภาพจิตแก่ประชาชน เช่น โครงการ Happy Kids และโครงงานในรายวิชาสุขภาพจิตชุมชน
- การเรียนการสอนในรายวิชาที่เกี่ยวกับการวิจัยและวิทยานิพนธ์
|
- การให้เกรดของรายวิชา
- ผลการประเมินกิจกรรมโดยประชาชนผู้เข้าร่วมงาน
- ผลการประเมินวิทยานิพนธ์
|
มีทักษะในการสื่อสาร
- มีทักษะการสื่อสารเพื่อใช้ในชีวิตประจำวัน และการประกอบวิชาชีพ
- มีความสามารถอ่านและเข้าใจบทความทางวิชาการสุขภาพจิตทั้งภาษาไทยและอังกฤษ และสามารถเขียน และนำเสนอบทความทางวิชาการ งานวิจัยหรือบทคัดย่อผลงานวิจัยเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ
|
- การเรียนเรื่องการสื่อสารและความสัมพันธ์ของมนุษย์ในรายวิชาพฤติกรรมศาสตร์ฯ การให้คำปรึกษาเบื้องต้นฯ และ การทำจิตบำบัดชนิดต่างๆ
- การฝึกการอ่านและวิพากษ์งานวิจัยในรายวิชาการวิจัยฯ
- การตีพิมพ์ผลงานวิจัย
- การนำเสนอในการสอบโครงร่างและการป้องกันวิทยานิพนธ์
- การให้ทำรายงาน และ/หรือนำเสนอหน้าชั้นเรียนในรายวิชาต่างๆ เช่น ปัจจัยทางสังคมฯ การวิจัยฯ สุขภาพจิตชุมชน
|
- การให้เกรดของรายวิชาต่างๆ
- รายงานการฝึกการอ่านและวิพากษ์งานวิจัย
- บทความที่ส่งตีพิมพ์ในวารสาร
- ผลการประเมินวิทยานิพนธ์
- ผลการประเมินการจัดทำรายงานหรือนำเสนอในรายวิชาต่างๆ
|
มีทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการ สืบค้น วิเคราะห์ ติดตามงานวิชาการด้านสุขภาพจิต และใช้ทักษะดังกล่าวในการนำเสนอผลงานทางวิชาการ
|
- สอนวิธีการใช้ e-library ภาควิชาฯ ในวันปฐมนิเทศ และการอบรมการใช้ห้องสมุดของคณะฯ
- การมอบหมายให้ค้นคว้าผลงานวิชาการทางสุขภาพจิตในรายวิชาการวิจัยค่างๆ
- การนำเสนอผลงานหน้าชั้นเรียนด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำหรับเสนอผลงาน
- การทำวิทยานิพนธ์
|
- การใช้บริการการเข้าค้นหรือยืมหนังสือผ่านระบบ e-library
- รายงานการฝึกการอ่านและวิพากษ์งานวิจัย
- ผลการประเมินการนำเสนอหน้าชั้น
- ผลการประเมินวิทยานิพนธ์
|
มีทักษะในการใช้โปรแกรมคำนวณทางสถิติเพื่อใช้ในงานวิจัยทางสุขภาพจิต
|
- การเรียนโปรแกรม SPSS ในรายวิชาการวิจัยฯ
- โครงการจัดการปรึกษาด้านสถิติการวิจัยแก่นิสิต
|
- การให้เกรดของรายวิชา
- ผลงานวิจัยที่มีการใช้โปรแกรมคำนวณทางสถิติ
|
มีทักษะความสามารถในการบริหารจัดการ การทำงานเป็นทีม หรือมีส่วนร่วมในกลุ่มงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
|
- การมอบหมายงานกลุ่มในรายวิชาหรือกิจกรรมต่างๆ
- การจัดกิจกรรมพัฒนาทักษะการเป็นผู้นำและการทำงานเป็นทีม เช่น โครงการอบรมทักษะการจัดกิจกรรมสำหรับเด็ก
|
- ตำแหน่งหน้าที่ความรับผิดชอบของนิสิตในงานกิจกรรมต่างๆ
- การเข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาทักษะการเป็นผู้นำและการทำงานเป็นทีมครบตามกำหนด
|
ใฝ่รู้และรู้จักวิธีการเรียนรู้
มีความใฝ่รู้ แสวงหาความรู้ทางสุขภาพจิตด้วยตนเองอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง
|
- การมอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าความรู้ใหม่ด้วยตนเอง และนำเสนอหน้าชั้นเรียนในรายวิชาปัจจัยทางสังคมฯ การวิจัยฯ สุขภาพจิตชุมชน
- การให้ค้นคว้ากรณีศึกษาในรายวิชา จิตเวชศาตร์คลินิก และกุมารจิตเวชศาสตร์คลินิก
|
- ผลการประเมินการจัดทำรายงานหรือนำเสนอในรายวิชาต่างๆ
- ผลประเมินรายงานกรณีศึกษาในรายวิชาต่างๆ
|
รู้จักเทคนิคและวิธีการในการเรียนรู้เพิ่มเติม และนำไปใช้ได้อย่างเหมาะสม
|
- สอนวิธีการใช้ e-library ภาควิชาฯในการปฐมนิเทศและอบรมการใช้ห้องสมุดของคณะฯ
|
- การใช้บริการการเข้าค้นข้อมูลหรือยืมหนังสือผ่านระบบ e-library
|
มีภาวะผู้นำ
ผลการเรียนรู้
|
กลยุทธ์การสอนที่ใช้พัฒนาการเรียนรู้
|
กลยุทธ์การประเมินผลการเรียนรู้
|
มีคุณสมบัติของการเป็นผู้นำ กล้าแสดงออก มองการณ์ไกล และสามารถนำกลุ่มกิจกรรมทางสุขภาพจิตได้
|
- การจัดกิจกรรมพัฒนาทักษะการเป็นผู้นำและการทำงานเป็นทีม เช่น โครงการอบรมทักษะการจัดกิจกรรมสำหรับเด็ก
|
- การเข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาทักษะการเป็นผู้นำและการทำงานเป็นทีมครบตามกำหนด
- ผลการประเมินตนเองและกิจกรรม
|
มีสุขภาวะ
ผลการเรียนรู้
|
กลยุทธ์การสอนที่ใช้พัฒนาการเรียนรู้
|
กลยุทธ์การประเมินผลการเรียนรู้
|
มีความสามารถในการเข้าใจตนเองและผู้อื่น รู้จักวิธีการดูแลสุขภาพกายและจิตของตนเอง
|
- การจัดโครงการพัฒนานิสิต เช่น การพัฒนาบุคลิกภาพและการรู้จักตนเองโดยอาศัยแนวคิด Enneagram และ กลุ่มความเจริญส่วนบุคคลโดยอาศัยกระบวนการกลุ่มเชิงจิตวิทยาแนว Personal Growth Group
|
- การเข้าร่วมโครงการพัฒนานิสิตครบตามกำหนด
- ผลการประเมินตนเองและกิจกรรม
|
มีจิตอาสาและสำนึกสาธารณะ
ผลการเรียนรู้
|
กลยุทธ์การสอนที่ใช้พัฒนาการเรียนรู้
|
กลยุทธ์การประเมินผลการเรียนรู้
|
มีจิตอาสาจัดกิจกรรมทางสุขภาพจิตให้แก่สังคมโดยไม่คำนึงถึงผลประโยชน์ส่วนตน มีความห่วงใยต่อสังคม
|
- การให้นิสิตเป็นผู้ดำเนินการจัดกิจกรรมการกุศลของโรงพยาบาลตามเทศกาล เช่น การคัดกรองและให้คำปรึกษาผู้มีปัญหาทางสุขภาพจิต ในวันพ่อแห่งชาติ และวันแม่แห่งชาติ
|
- การเข้าร่วมกิจกรรมการกุศลต่างๆ
- ผลการประเมินตนเองและกิจกรรม
|
ดำรงความเป็นไทยในกระแสโลกาภิวัฒน์
ผลการเรียนรู้
|
กลยุทธ์การสอนที่ใช้พัฒนาการเรียนรู้
|
กลยุทธ์การประเมินผลการเรียนรู้
|
สามารถดำรงชีวิตส่วนตัว และมีทักษะความรู้ด้านสุขภาพจิตที่เหมาะสมกับสถานการณ์ วัฒนธรรม และสังคมที่เปลี่ยนแปลง โดยยังคงความเป็นไทยในกระแสโลกาภิวัฒน์
|
- การให้เลือกหัวข้อการอภิปรายในรายวิชาปัจจัยทางสังคมและวัฒนธรรมฯ โดยอิงตามการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมไทยในปัจจุบัน และการจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมวัฒนธรรมไทยและประเพณี
|
- การให้เกรดในรายวิชา
- การเข้าร่วมกิจกรรม เช่น งานวันอานันทมหิดล วันไหว้ครู งานทำบุญเลี้ยงพระวันเกิดภาควิชาฯ งานประเพณีวันขึ้นปีใหม่ของภาควิชาฯ
|
หลักเกณฑ์ในการประเมินผลนักศึกษา
กฎระเบียบหรือหลักเกณฑ์ในการให้ระดับคะแนน (เกรด)
หลักเกณฑ์ในการให้ระดับคะแนน (เกรด) เป็นไปตามข้อบังคับจุฬาฯ ว่าด้วยการศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. ๒๕๕๑
กระบวนการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษา
ในการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ของนิสิตตามมาตรฐานผลการเรียนรู้ในแต่ละรายวิชานั้น ใช้กระบวนทวนสอบจากคะแนนข้อสอบ การเข้าเรียน การเข้าร่วมกิจกรรม และผลของงานที่ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการ และมีการขั้นตอนการสอบป้องกันเค้าโครงร่างวิทยานิพนธ์ การสอบวิทยานิพนธ์ ต่อคณะกรรมการวิทยานิพนธ์ของหลักสูตรฯ รวมทั้งบทความวิจัยซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ต้องได้รับการตีพิมพ์ในวารสารหรือส่งพิมพ์ทางวิชาการหรือเสนอต่อที่ประชุมวิชาการที่มีรายงานการประชุมฉบับสมบูรณ์ ตามข้อบังคับจุฬาฯว่าด้วยการศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. ๒๕๕๑
เกณฑ์การสำเร็จการศึกษาตามหลักสูตร
เกณฑ์การสำเร็จการศึกษาตามหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต เป็นไปตามข้อบังคับจุฬาฯ ว่าด้วยการศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. ๒๕๕๑
การสนับสนุนและการให้คำแนะนำนักศึกษา
การให้คำปรึกษาด้านวิชาการ และอื่นๆ แก่นักศึกษา
หลักสูตรฯ มีระบบ Staff-student meeting ซึ่งเป็นการที่กรรมการหลักสูตรฯจัดประชุมร่วมกันกับนิสิตเพื่อให้คำปรึกษาแนะนำทางวิชาการแก่นิสิต รวมถึงตารางการทำงานของอาจารย์และการแนะนำแผนการเรียนในหลักสูตร การเลือกและวางแผนสำหรับอาชีพ นอกเหนือจากสิ่งที่นิสิตจะได้รับคำปรึกษาในด้านดังกล่าวอยู่แล้วจากการมีระบบอาจารย์ที่ปรึกษา
การอุทธรณ์ของนักศึกษา
นิสิตสามารถอุทธรณ์ในเรื่องที่เกี่ยวกับวิชาการเป็นลายลักษณ์อักษร ส่งผ่านกล่องรับความคิดเห็นหน้าภาควิชาฯ หรือส่งโดยตรงที่ธุรการฯ หรือ เลขานุการ หรือประธานหลักสูตรฯโดยตรง เมื่อคณะกรรมการหลักสูตรฯได้รับเรื่องอุทธรณ์ดังกล่าว จะนำเข้ากระบวนการเพื่อพิจารณาเรื่องอุทธรณ์และแก้ไขปัญหาในที่ประชุมกรรมการหลักสูตรฯ ทั้งนี้ หากเป็นเรื่องเร่งด่วน เช่น การทำผิดวินัย หรือเป็นเรื่องที่มีการกำหนดระยะเวลา จะมีการเรียกประชุมฉุกเฉินเพื่อพิจารณาเรื่องดังกล่าว และส่งเรื่องกลับไปยังนิสิตผู้อุทธรณ์ภายใน ๗ วัน
ความต้องการของตลาดแรงงาน สังคม และ/หรือความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิต
อิงตามคณะฯ โดยมีการจัดทำระบบการสำรวจความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิต การมีงานทำของบัณฑิต การได้งานทำตรงตามสาขาที่ศึกษา และความต้องการของบัณฑิตในการศึกษาต่อระดับปริญญาเอก โดยดำเนินการสำรวจหลังจากบัณฑิตจบแล้วอย่างน้อย ๖ เดือน และมีการสำรวจซ้ำทุกปีการศึกษาเป็นเวลาติดต่อกัน ๒ ปี นำผลที่ได้ไปใช้ในการพัฒนาหลักสูตรฯ ที่จัดขึ้นทุก ๓ ปี