ReadyPlanet.com
dot dot




โครงการประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “Positive Psychology”

 

โครงการประชุมเชิงปฏิบัติการ

เรื่อง  “Positive Psychology”

นิสิต วท.ม. สาขาวิชาสุขภาพจิต (ภาคปกติ และภาคนอกเวลาราชการ)

ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

 

 หลักการและเหตุผล

นิสิตโดยทั่วไปแล้วมีโอกาสเกิดความเครียดได้จากทั้งการเรียนการทำวิจัยและความเครียดจากการปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น ทั้งจากอาจารย์ที่ปรึกษาอาจารย์อื่นที่เกี่ยวข้องเจ้าหน้าที่ในห้องปฏิบัติการ  เพื่อน รุ่นพี่และรุ่นน้อง  ปัญหาความเครียดดังกล่าวเป็นผลมาจากวิธีการมองโลก การรับรู้ความคาดหวังความปรารถนาความเป็นตัวตนของตนเอง และการตอบสนองต่อการรับรู้ซึ่งเป็นรูปแบบที่ปลูกฝังมาแต่อดีตจนเป็นนิสัยของจิตโครงการนี้จึงมุ่งเน้นที่การฝึกทำความเข้าใจโลกภายในของตัวนิสิตเอง การมีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลรอบข้างการสร้างความสุขและจัดการความเครียดอย่างเหมาะสมตลอดจนเป็นพื้นฐานของการทำจิตบำบัดหรือการให้คำแนะนำปรึกษาต่อไปโดยใช้แนวทางของ Positive Psychology

Positive Psychology หรือ จิตวิทยาทางบวก เป็นแนวคิดวิทยาศาสตร์ทางสังคม มุ่งศึกษาการบ่มเพาะความแข็งแกร่ง ความสำคัญและความจำเป็นในการดำรงชีวิตของบุคคลและสังคมอย่างเติมเต็ม ให้มนุษย์สามารถนำพาสิ่งที่มีความหมายเกื้อกูลการมีชีวิตอยู่อย่างครอบคลุมสมบูรณ์ และให้ได้รับประสบการณ์ที่ดีมีคุณค่ามีความสุขทั้งในด้านความรักหน้าที่การงานและการพักผ่อนด้วย

Martin Seligmanได้นิยามไว้ว่า จิตวิทยาทางบวก คือ การค้นพบและส่งเสริมพัฒนาศักยภาพพิเศษว่าด้วยความฉลาดหรืออัจฉริยภาพ และทำชีวิตที่ปกติให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น (to find and nurture genius and talent, to make normal life more fulfilling) นิยามดังกล่าวนี้ได้ก่อให้เกิด การตื่นตัวและเป็นที่สนใจกันยิ่งในวงกว้าง ดังนั้น Positive Psychology จึงเป็นศาสตร์ทางเลือกใหม่ที่มุ่งพัฒนาบุคลิกภาพของมนุษย์ให้เป็นผู้มีความสุข โดยมีพื้นฐานของความสุขจากการพัฒนาตนเอง การเป็นคนดีมีมุมมองต่อชีวิตและโลกในเชิงบวก ซึ่งสอดคล้องกับปณิธานของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่มุ่งมั่นจะสร้างนิสิตให้มีความเพียบพร้อมทางด้านความรู้และความสามารถควบคู่ไปกับคุณธรรม เพื่อให้ได้บัณฑิตที่มีคุณภาพต่อไป

วัตถุประสงค์เพื่อให้นิสิต

1.เรียนรู้และเข้าใจโลกภายในของตนเอง

2.พัฒนาสุขภาพจิตของตนเองให้มีความสุขได้สามารถจัดการกับความเครียดได้อย่างเหมาะสม ตามแนวทางของ Positive Psychology

วิธีการประชุม

          กลวิธีที่สำคัญคือการใช้กิจกรรมการฝึกสำรวจโลกภายในของตนเอง และการสร้างความสุขด้วยตนเองโดยวิธี experientialรวมทั้งการอภิปรายแลกเปลี่ยนประสบการณ์ทั้งในกลุ่มใหญ่และกลุ่มย่อย โดยมีกิจกรรมต่างๆ ดังนี้

1.การบรรยายแนวคิดพื้นฐานของ Positive Psychology

2.การฝึกปฏิบัติกลุ่มย่อยโดยวิธี experiential

3.การอภิปรายแลกเปลี่ยนประสบการณ์การเรียนรู้ในกลุ่มใหญ่

4.การสรุปการเรียนรู้ในแต่ละกิจกรรม (Debrief) และการตอบข้อซักถาม (Answers and Questions)

ระยะเวลาในการจัดประชุม

วันที่ 2-4 มีนาคม 2562

 

ภาพกิจกรรม          

 

 

 

    

 



 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 




ข่าวสารสำหรับนิสิตปัจจุบัน

โครงการศิลปะบำบัด
โครงการประชุมสัมมนา เรื่อง องค์ความรู้ ประสบการณ์ จากรุ่นสู่รุ่น สู่องค์กร แห่งการเรียนรู้
กิจกรรมนพลักษณ์
กิจกรรมการรู้จักและการพัฒนาศักยภาพตนเอง
กิจกรรมสุขภาพจิตชุมชน ปีการศึกษา 2565 (ภาคปกติ)
กิจกรรมสุขภาพจิตชุมชน ปีการศึกษา 2565 (ภาคนอกเวลาราชการ)
งานวิจัยระดับนานาชาติ
วิทยานิพนธ์ article
LOGO article
ค่าย YGC



Copyright © 2011 All Rights Reserved.
Department of Psychiatry, Faculty of Medicine, Chulalongkorn University BANGKOK 10330
Tel: (662) 256-4000-61509